ข้อที่ 5. วันอาทิตย์สะบาโตมาจากไหน?

บรรดาอัครสาวกเตือนเราอย่างตรงไปตรงมาว่า คริสตชนบางคนจะบิดเบือนความจริงจากหลักของคำสอนคริสชนในพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่ เปาโลได้กล่าวว่า “เพราะฉะนั้นจงตื่นตัว” (กิจการของอัครทูต 20:29-31) สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นจริงตามคำพยากรณ์ นักประวัติศาสตร์ที่เชื่อถือได้บันทึกไว้ชัดเจนว่า คริสตชนเริ่มหลงทางและถอยห่างจากความบริสุทธิ์ตามแบบอย่างของอัครสาวก สำหรับขนบธรรมเนียมประเพณีและหลักความเชื่อทางศาสนาต่างๆ ที่เปาโล เปโตรและอัครสาวกคนอื่นๆ ในคริสตจักรไม่เคยรับรองไว้ ค่อยๆ คืบคลานเข้ามาในคริสตจักรทีละเล็กละน้อยๆ

การรักษาวันอาทิตย์เป็นวันสะบาโต เกิดขึ้นหลังจากการเขียนพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่เสร็จสมบูรณ์และบรรดาอัครสาวกทั้งหมดเสียชีวิตหมดร้อยแล้ว ประวัติศาสตร์มีการบันทึกว่า ในที่สุดคริสตชนได้เปลี่ยนวันนมัสการและวันหยุดพักจากวันที่เจ็ดไปเป็นวันแรกของสัปดาห์ แน่นอนผู้มีความเชื่อไม่ได้หยุดการรักษาวันสะบาโตวันที่เจ็ดของสุดสัปดาห์ เพียงแต่เริ่มใช้วันอาทิตย์เป็นวันของพระผู้เป็นเจ้านับจากนั้นเป็นต้นมา ข้อเท็จจริงของการรักษาวันสะบาโตวันอาทิตย์ได้เริ่มขึ้นครั้งแรกที่อิตาลีช่วงกลางของคริสตศตวรรษที่สอง หลังจากนั้นต่อมาอีกเป็นเวลานานที่คริสตชนจำนวนมากรักษาวันสะบาโตทั้งสองวัน ขณะที่คริสตชนบางกลุ่มจะรักษาวันสะบาโตวันที่เจ็ดของสัปดาห์เพียงวันเดียวเท่านั้น

ในวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 321 กษัตริย์คอนสแตนตินมหาราชออกกฎหมายฝ่ายพลเรือน ว่าด้วยเรื่องกำหนดให้วันอาทิตย์เป็นวันหยุดทางการของฝ่ายพลเรือนเป็นครั้งแรก ทุกคนในจักรวรรดิ์โรมัน (ยกเว้นชาวนา) จะมีวันอาทิตย์เป็นวันหยุด จักรพรรดิ์คอนสแตนตินได้ประกาศใช้กฎหมายดังกล่าวรวม 6 ฉบับเป็นพระราชกฤษฎีกาเพื่อบังคับใช้ทั่วแผ่นดิน ดังนั้นจึงใช้กฎหมายดังกล่าวตั้งแต่นั้นมาจวบจนปัจจุบัน ในศตวรรษที่สี่สภาลาโอดิเซีย (Laodicea) ห้ามคริสตชนหยุดงานในวันสะบาโต (วันเสาร์) และขณะเดียวกันก็ชักจูงให้หยุดงานในวันอาทิตย์แทนมากกว่า

ประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่า การนมัสการในวันอาทิตย์เป็นขนบธรรมเนียมที่มนุษย์คิดขึ้น พระคริสตธรรมคัมภีร์ไม่ได้ให้สิทธิ์เปลี่ยนวันสะบาโตวันที่เจ็ดของสัปดาห์ตามพระบัญญัติข้อสี่ของพระองค์ ในพระคัมภีร์เพันธสัญญาเดิม ผู้เผยพระวจนะดาเนียลพยากรณ์ไว้ว่า อำนาจแห่งความหลอกลวงจะคิดเปลี่ยนแปลงบรรดาวาระและธรรมบัญญัติในยุคของคริสตชน (ดาเนียล 7:25)

<< หน้าก่อน หน้าถัดไป >>