ข้อที่ 5. ความชื่นชมยินดีจากการร่วมนมัสการ

ในส่วนลึกของหัวใจเรายังคงเฝ้าถวิลหาการนมัสการพระเจ้า และหากเราไม่ได้ไปนมัสการตามที่ใจปรารถนาความรู้สึกนั้นก็จะเหือดแห้งไปโดยปริยาย ผู้เขียนพระธรรมสดุดีรู้สึกอย่างไรเมื่อเขาจะได้ไปสถานที่มีการนมัสการพระเจ้า?

“ข้าพเจ้ายินดี เมื่อเขากล่าวแก่ข้าพเจ้าว่า ‘ให้เราไปยังพระนิเวศพระเจ้าเถิด’” สดุดี 122:1

ดนตรีเข้ามามีส่วนในการนมัสการพระเจ้าในที่ชุมนุมชนอย่างไร?

“จงปรนนิบัติพระเจ้า ด้วยความยินดี จงเข้ามาเฝ้าพระองค์ด้วยการร้องเพลง” สดุดี 100:2

พระคัมภีร์บอกเราว่า การถวายทรัพย์เป็นเรื่องที่เหมาะสมในการนมัสการพระผู้เป็นเจ้า

“จงนำเครื่องบูชา และมายังบริเวณพระนิเวศของพระองค์ จงประดับกายด้วยเครื่องบริสุทธิ์นมัสการพระเจ้าในความตระการแห่งความศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์” สดุดี 96:8-9

การอธิษฐานมีส่วนสำคัญในการนมัสการพระผู้เป็นเจ้าในที่ชุมนุมเช่นกัน

“มาเถิด ให้เรานมัสการและกราบลง ให้เราคุกเข่าลงต่อพระเจ้าผู้ทรงสร้างพวกเรา” สดุดี 95:6

การศึกษาพระคัมภีร์หรือการเทศนาเป็นศูนย์กลางของการนมัสการในพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการเทศนาของเปโตรในวันเทศกาลเพ็นเทคอสต์ ในพระธรรมกิจการของอัครทูต บทที่ 2 นับจากการสมัยของผู้ปฏิรูปศาสนาโปรเตสแตนท์จวบจนปัจจุบัน การฟื้นฟูศาสนาครั้งสำคัญทุกครั้งมีการเทศนาโดยยึดเอาพระวจนะในพระคริสตธรรมคัมภีร์เป็นหลัก ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? ก็เพราะ “พระวจนะของพระเจ้านั้นมีชีวิตและทรงพลานุภาพอยู่เสมอ และคมยิ่งกว่าดาบสองคมใดๆ” (ฮีบรู 4:12-13)

<< หน้าก่อน หน้าถัดไป >>