เพื่อความเข้าใจความหมายของบทเรียนอย่างถูกต้อง การเข้าใจศัพท์ของศาสนาคริสเตียนซึ่งอาจมีความแตกต่างจากศาสนา
อื่นๆ จะช่วยทำให้นักศึกษาได้รับความกระจ่าง และเข้าใจเนื้อหาของบทเรียนมากยิ่งขึ้นๆ
กลับใจใหม่:
หมายถึงการหันจากบาปมานอบน้อมถ่อมใจลงเชื่อฟังพระเจ้า ด้วยการเปลี่ยนความคิดและการกระทำ เพื่อจะได้รอดพ้นโทษ
บาป การกลับใจใหม่เป็นความรู้สึกเสียใจในความผิดบาปที่ได้กระทำลงไป และบัดนี้ยอมจำนนต่อพระเจ้าสิ้นเชิง โดยการเชื่อวาง
ใจในพระเยซูคริสต์ ตลอดจนให้พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงนำในการดำเนินชีวิตทุกวัน
ของประทาน:
ในสมัยพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมพระวิญญาณของพระเจ้าลงมาสถิตกับคนที่พระเจ้าทรงเลือกสรรเป็นพิเศษ เพื่อให้ทำภารกิจ
พิเศษบางอย่าง เช่น เผยพระวจนะ ทำการอิทธิฤทธิ์ รักษาโรค รับนิมิต มีความชำนาญ มีความสามารถ มีความรู้ (อพยพ 31:3; 1
ซามูเอล 10:6-7; 2 พงษ์กษัตริย์ 4:32-37) ในสมัยพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่พระเจ้าทรงให้ของประทานฝ่ายพระวิญญาณหลาย
อย่างแก่ผู้เชื่อตามที่พระองค์เห็นสมควร เช่น เผยพระวจนะ ปรนนิบัติ สั่งสอน เตือนสติ บริจาค ครอบครอง มีใจเมตตา มีสติปัญญา
มีความรู้ มีความเชื่อ รักษาคนป่วย ทำการอิทธิฤทธิ์ สังเกตวิญญาณ พูดภาษาแปลกๆ แปลภาษาแปลกๆ (โรม 12:6-8; 1 โครินธ์
12:5-11) พระเจ้าประทานของประทานเหล่านี้ให้แก่คริสตจักร ก็เพื่อให้กระทำพันธกิจของพระเจ้า โดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ทรง
เป็นผู้ประทานให้ผู้เชื่อตามที่พระองค์เห็นสมควร ส่วนผู้เชื่อควรจะแสวงหาของประทานที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของ
คริสตจักร และใช้ของประทานทุกอย่างด้วยความรัก โดยให้องค์พระผู้เป็นเจ้าเป็นผู้รับเกียรติเพียงผู้เดียว (1 โครินธ์ 12:11; 13:1-
3; 14:5)
ข่าวประเสริฐ:
ในพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมใช้ว่า “ข่าวดี” ปรากฏในหนังสืออิสยาห์ 40:9; 41:27; 52:7; 60:6; 61:1 พวกโรมันใช้คำนี้เมื่อ
กล่าวถึงวันเกิดของซีซาร์ สำหรับพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่จะใช้ว่า “ข่าวประเสริฐ” เป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีบางครั้งที่ใช้ว่า “กิตติคุณ”
(โรม 16:25; 2 โครินธ์ 11:4; 2 เธสะโลนิกา 3:1) คือข่าวเรื่องพระเยซูคริสต์เสด็จมาปลดปล่อยมวลมนุษย์ให้พ้นจากการเป็นทาส
บาป พ้นจากการพิพากษาลงโทษ และรับชีวิตใหม่ เป็นพระสัญญาที่พระเจ้าทรงให้แก่ชนชาติอิสราเอลในสมัยพระคัมภีร์เดิม และ
ได้เกิดขึ้นสำเร็จเป็นจริงทางองค์พระเยซูคริสต์ ผู้ใดหันกลับจากบาปมาเชื่อวางใจในพระเยซู จะได้รับการอภัยโทษบาปและเข้าใน
แผ่นดินของพระเจ้าได้
คริสตจักร:
คำ “คริสตจักร” ในภาษากรีกแปลว่า การชุมนุม หรือการประชุม ในพระคัมภีร์หมายถึง การชุมนุมรวมตัวกันของพี่น้อง
คริสตชนในคริสตจักรท้องถิ่น (1 เธสะโลนิกา 1:1) หรือคริสตชนทั้งหมดในทุกยุคทุกสมัย (มัทธิว 16:18) พระคัมภีร์ใหม่เปรียบ
คริสตจักรเหมือนพระกายของพระคริสต์ (1 โครินธ์ 12:27; เอเฟซัส 5:23) หรือครอบครัวของพระเจ้า (1 ทิโมธี 3:15) หรือภรรยา
หรือเจ้าสาวของพระคริสต์ (เอเฟซัส 5:25-33; วิวรณ์ 19:7-8) นอกจากนั้นยังเรียกคริสตจักรว่า เป็นพวกธรรมิกชน (ฟิลิปปี 1:1)
หรือพวกที่พระเจ้าทรงเรียกและทรงชำระให้บริสุทธิ์ (1 โครินธ์ 1:2)
ความจริง:
พระคัมภีร์ไทยแปลคำนี้โดยเลือกใช้หลายคำ เช่น สัจจะ สัจธรรม สัตย์จริง แท้จริง ฯลฯ คือความคิด คำพูด หรือ การกระทำ
ที่สอดคล้องกับพระลักษณะและพระประสงค์ของพระเจ้า ดังนั้นเมื่อพระเยซูตรัสว่า “เราเป็น...ความจริง” นั่นย่อมแสดงว่า พระเยซู
ทรงคิด พูด และกระทำทุกสิ่งทุกอย่างตามพระประสงค์ของพระบิดา
ความรอด:
ในพระคัมภีร์เดิม หมายถึงการปลดปล่อยหรือการช่วยให้รอดพ้นจากภยันตราย และโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ (อพยพ 6:6; สดุดี
6:2-4; 7:1-5; 103:3) ส่วนในพระคัมภีร์ใหม่หมายถึงการทรงไถ่ผู้เชื่อทั้งหลายให้รอดพ้นจากโทษบาปคือความตาย เข้าสู่ชีวิตนิรันดร์
และสันติสุขโดยทางพระเยซูคริสต์เท่านั้น (1 เธสะโลนิกา 5:9) ดู “ชีวิตนิรันดร์” และ “แผ่นดินของพระเจ้า”
ความรัก:
คำนี้ในภาษากรีกมีอยู่สี่คำด้วยกัน คือ สตอร์เก้ อีรอส อากาเป และ ฟีลอส แต่ในพระคัมภีร์ใหม่ปรากฏเพียงสองคำหลังเท่า
นั้น คำว่า “ฟีลอส” เป็นรากศัพท์ของ “ฟิลาเดลเฟีย” ซึ่งหมายถึงความรักระหว่างพี่น้อง (โรม 12:10; 2 เปโตร 1:7) ส่วน “อากาเป”
หมายถึง ความรักที่บริสุทธิ์ เต็มไปด้วยความหวังดี เป็นความปรารถนาดีต่อผู้อื่นโดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน เป็นการเสียสละเพื่อ
ผู้อื่น (1 โครินธ์ 13) ความรักแบบนี้เราจะเห็นได้จากชีวิตของพระเยซูคริสต์ (ยอห์น.3:16; วิวรณ์ 3:9)
ชอบธรรม:
“ความชอบธรรม” ในพระคัมภีร์มีความหมายทั่วไปคือ การมีชีวิตสอดคล้องกับสิ่งที่พระเจ้าเรียกร้องและการปฏิบัติตาม
กฎบัญญัติของพระองค์ เมื่อใช้คำนี้บรรยายถึงพระลักษณะของพระเจ้า จะหมายถึงความสัตย์ซื่อของพระองค์ในการรักษา
พระสัญญา (เนหะมีย์ 9:7-8; สดุดี 89:14; 33-34) แต่เมื่อกล่าวถึงประชากรของพระองค์จะหมายถึงลักษณะชีวิต ที่พระเจ้าทรง
ยอมรับและมีความสัมพันธ์ที่ถูกต้องกับพระองค์ โดยผ่านทางความเชื่อที่ผู้นั้นมีในพระเยซูคริสต์ และดำเนินชีวิตตามคำสอนของ
พระองค์ (โรม 5:1; 6:18; 8:4)
ชีวิตนิรันดร์:
เป็นชีวิตที่ใกล้ชิดผูกพันกับพระเจ้า โดยไม่มีวันสิ้นสุด (ยอห์น 17:3) เป็นชีวิตครบบริบูรณ์ (ยอห์น 10:10) คือมีสันติสุขแท้
ท่ามกลางความทุกข์โศกและปัญหาในปัจจุบัน เป็นชีวิตที่ไม่อาจจะหาได้จากที่ใดนอกจากในพระเยซูคริสต์ ผู้ใดเชื่อวางใจและ
ติดตามพระองค์จะได้รับชีวิตนิรันดร์ ชีวิตนิรันดร์นี้เริ่มต้นตั้งแต่วินาทีที่ผู้เชื่อกลับใจบังเกิดใหม่ แต่จะสมบูรณ์และปราศจากความ
ทุกข์ทั้งสิ้นเมื่อไปอยู่กับพระเจ้า
ซาตาน:
“ซาตาน” แปลว่า ปรปักษ์ เป็นหัวหน้าของวิญญาณชั่ว มีนิสัยชอบกล่าวโทษ (โยบ 1:6-11) โกหก หลอกลวง ฆ่า ทำลาย
(ยอห์น 8:44) แต่เดิมเป็นเทพบุตร หรือทูตสวรรค์ที่พระเจ้าสร้าง (โยบ.1:6; อสย.14:12) ต่อมาได้กบฏต่อพระเจ้า และถูกขับไล่ออก
จากสวรรค์ ตั้งแต่นั้นมามารพยายามทำทุกวิถีทางที่จะทำให้คนหลงไปจากพระเจ้า แต่พระเยซูทรงชนะมารซาตานที่กางเขนแล้ว
(โคโลสี 2:15; ฮีบรู 2:14) และทรงทำให้มนุษย์ได้กลับมาคืนดีกับพระเจ้า พระคัมภีร์ได้ทำนายไว้ว่า ในที่สุดมารจะถูกขังไว้หนึ่งพันปี
และจะถูกปล่อยออกมา (วิวรณ์ 20:1-3) หลังจากนั้นจะทำสงครามใหญ่กับธรรมิกชน แต่สุดท้ายจะถูกจับโยนลงไปในบึงไฟนรก
(วิวรณ์ 20:7-10)
ทูตสวรรค์:
พระเจ้าทรงสร้างทูตสวรรค์ก่อนสร้างมนุษย์ (โยบ 38:4-7) ทูตสวรรค์มีจำนวนมากมาย มีศักดิ์ศรีสูงกว่ามนุษย์เพียงเล็กน้อย
(สดุดี 8:5) เป็นผู้รับใช้ของพระเจ้าในอาณาจักรสวรรค์ตั้งแต่ดั้งเดิมก่อนที่จะสร้างมนุษย์ ซาตานและลูกสมุนของมันคือทูตสวรรค์
กลุ่มหนึ่งที่ทรยศต่อพระเจ้า แต่พวกมันมีอำนาจเพียงแค่ในขอบเขตที่พระเจ้ากำหนดให้เท่านั้น (ดู “ซาตาน”)
ธรรมบัญญัติ (พระบัญญัติ)
คำว่า “ธรรมบัญญัติ” บางครั้งหมายถึงกฎบัญญัติข้อใดข้อหนึ่งโดยเฉพาะ บางครั้งหมายถึงหนังสือห้าเล่มแรกของพระคัมภีร์
เดิม และบางครั้งหมายถึงพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมทั้งเล่ม (มัทิว 5:17; ลูกา.24:44; ยอห์น 1:45) ธรรมบัญญัติเป็นมาตรฐาน
ทางศีลธรรมที่พระเจ้าทรงให้ชนชาติอิสราเอล แบ่งออกเป็นกฎหมายเกี่ยวกับสังคม และกฎหมายเกี่ยวกับพิธีกรรมทางศาสนา
พระเจ้าทรงประทานธรรมบัญญัตินี้ เพื่อให้พวกเขาดำเนินชีวิตตามมาตรฐานอันบริสุทธิ์ของพระเจ้า (อพยพ 19:4-6)
ธรรมิกชน:
ในพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิม หมายถึงบุคคลที่มีชีวิตสัตย์ซื่อ ชอบธรรม เมตตา และบริสุทธิ์ ส่วนในพระคัมภีร์ใพันธสัญญา
ใหม่หมายถึงบุคคลที่ได้รับการชำระให้บริสุทธิ์ เป็นผู้ที่พระเจ้าทรงแยกไว้ต่างหากเพื่อเป็นชนชาติที่บริสุทธิ์ของพระองค์ เปาโลใช้
คำนี้เรียกบรรดาคริสตชน (2 โครินธ์ 1:1; ฟิลิปปี 1:1)
นรก:
มาจากภาษากรีกคำว่า “เกะเอ็นนา” ซึ่งเป็นคำทับศัพท์ภาษาฮีบรูของคำว่า “เกฮินโนม” เกฮินโนมเป็นชื่อของหุบเขาทางตะวันตก
เฉียงใต้ของเยรูซาเล็ม ที่เชื่อมต่อกับหุบเขาขิดโรน หุบเขานี้เคยเป็นที่ตั้งของปูชนียสถานสูงชื่อโทเฟทที่แปลว่า “เตาไฟ” (เยเรมีย์
7:31) ในสมัยต่อมาและในสมัยพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่ ชื่อหุบเขานี้จึงถูกนำมาใช้เปรียบเทียบกับสถานที่หรือการลงโทษคนชั่ว
ในวาระสุดท้าย (มัทธิว 10:28; มาระโก 9:43)
บริสุทธิ์:
คนหรือสิ่งของที่ไม่มีมลทิน ไม่มีจุดด่างพร้อย แต่ในพระคัมภีร์เดิมหมายถึง คนหรือสิ่งของที่แยกไว้สำหรับพระเจ้า (ลนต.8:10-
11) หรือเล็งถึงความบริสุทธิ์ศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า (อิสยาห์ 6:3) และในพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่ยังมีความหมายรวมไปถึงการ
ดำเนินชีวิตที่สอดคล้องกับน้ำพระทัยของพระเจ้าด้วย (1 เปโตร 1:14-15) ดู “ชำระตัว” และ “ธรรมิกชน”
บัพติศมา:
เป็นพิธีใช้น้ำเพื่อเป็นสัญลักษณ์เล็งถึงการดำเนินชีวิตใหม่ การเปลี่ยนศาสนา หรือการกลับใจ พวกยิวใช้พิธีนี้เพื่อชำระบาป
ของคนที่เปลี่ยนมาถือศาสนายิว ส่วนยอห์น ผู้ให้รับบัพติศมาใช้เป็นเครื่องหมายแสดงถึงการกลับใจจากบาป และหันมาหา
พระเจ้า ส่วนบัพติศมาของคริสตชนหมายถึง การเข้าส่วนในความตายและเป็นขึ้นมาจากความตายกับพระเยซูเพื่อสำแดงชีวิตใหม่
(โรม 6:4)
บาป:
ความหมายทั่วไปคือ การกระทำที่ผิดไปจากมาตรฐานหรือพระประสงค์ของพระเจ้า อีกนัยหนึ่งคือ การเสื่อมจากพระสิริของ
พระองค์ (โรม 3:23) พระคัมภีร์สอนว่าบาปเข้ามาในโลกทางอาดัม เพราะมนุษย์ไม่พอใจสถานภาพของตัวเอง ถึงแม้ว่าจะถูกสร้าง
มาตามพระฉายาของพระเจ้า (ปฐมกาล 1:27) จึงพยายามยกตัวเทียบเท่ากับพระองค์ (ปฐมกาล 3:5) นี่คือรากเหง้าของบาป ใน
กิตติคุณยอห์น กล่าวถึงบาปว่าเป็นตัวการที่ต่อสู้ความจริง คือทั้ง ๆ ที่รู้เห็นความจริง แต่ก็ยังปฏิเสธความจริงนั้นอยู่ (ยอห์น 9:41;
15:22-25) ส่วนเปาโลกล่าวถึงบาปว่าเป็นอำนาจที่ครอบงำชีวิตมนุษย์ (โรม 6:14) ทำให้เราเป็นทาสมัน (โรม 6:17,20; 7:25) แต่
เราได้รับการปลดปล่อยแล้วโดยทางพระเยซูคริสต์ (โรม 6:22)
บุตรของพระเจ้า:
เป็นคำที่ใช้อ้างถึงชนชาติอิสราเอลในสมัยพระคัมภีร์เดิม (โฮเชยาห์ 1:10) เพราะพระเจ้าทรงเลือกชนชาติอิสราเอลจากบรรดา
ประชาชาติบนแผ่นดินโลก และทรงโปรดตั้งพวกเขาให้อยู่ในฐานะบุตรของพระองค์ ต่อมาในพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่ เปาโลใช้
คำนี้เพื่ออ้างถึงคริสตชนทุกคนที่มาเชื่อพระเยซู (โรม 8:14-15; กาลาเทีย 4:5-6) เพราะโดยทางพระเยซูนั้น พวกเขาซึ่งเคยเป็นคนบาป
และไม่มีสิทธิ์จำเพาะพระพักตร์พระเจ้า กลับได้รับเกียรติเป็นถึงบุตรของพระองค์
บุตรมนุษย์:
เป็นพระนามที่พระเยซูทรงใช้เมื่อเอ่ยถึงพระองค์เอง พระนามนี้มาจากนิมิตของดาเนียล ซึ่งเล็งถึงพระเมสสิยาห์ที่จะมารับ
อำนาจครอบครองแผ่นดินโลก (ดาเนียล 7:13-14) พระเยซูทรงสำแดงอำนาจในฐานะบุตรมนุษย์นี้ด้วยการยกความผิดบาป
(มาระโก 2:10) และด้วยการตายเพื่อไถ่ถอนมนุษย์จากบาป (มาระโก 10:45) นอกจากนี้พระคัมภีร์มักใช้คำ “บุตรมนุษย์” เมื่อ
กล่าวถึงการเสด็จกลับมาของพระเยซูคริสต์ เพื่อตั้งอาณาจักรแห่งฤทธิ์อำนาจและเต็มด้วยสง่าราศรี (มาระโก 8:38) แต่คำว่า “บุตร
มนุษย์” อาจจะหมายถึงมนุษย์ทั่วๆไปด้วย ดังนั้นคำนี้จึงเหมาะอย่างยิ่งที่จะเป็นพระนามของพระเยซูคริสต์เพราะมีความหมาย
ทั้งสองอยา่ งคือ ไมเ่ พียงแตจ่ ะชี้ถึงความเปน็ พระเจา้ ของพระองค (พระบุตรของพระเจา้ ) แตข่ ณะเดียวกันก็เปน็ มนุษยค์ นหนึ่งดว้ ย
(เป็นเชื้อสายของดาวิด)
ปุโรหิต:
หมายถึงผู้ที่ทำหน้าที่เป็นคนกลางระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ ซึ่งเป็นผู้ที่พระเจ้าทรงแต่งตั้งขึ้น ปุโรหิตต้องมาจากเชื้อสายของ
อาโรนพี่ชายของโมเสส พวกเขาจะทำหน้าที่ในพลับพลาหรือพระวิหาร โดยมีพวกเลวีเป็นผู้ช่วยเหลือ หน้าที่หลักประกอบด้วยการ
ดูแลความเรียบร้อยในพระวิหาร การถวายเครื่องบูชาต่างๆ และการประกอบพิธีกรรมอื่นๆ ทางศาสนา มหาปุโรหิต ซึ่งเป็นปุโรหิต
สูงสุด มีเพียงคนเดียว ท่านเป็นผู้เดียวที่มีสิทธิ์เข้าไปในห้องอภิสุทธิสถานปีละครั้ง เพื่อลบมลทินบาปให้กับชนชาติอิสราเอล (เลวีนิติ 16:2-
3; ฮบ.9:7) มหาปุโรหิตในสมัยพระคัมภีร์เดิมจะทำหน้าที่จนกว่าจะเสียชีวิต
ผู้เผยพระวจนะ:
เป็นผู้ที่พระเจ้าทรงแต่งตั้งด้วยพระองค์เอง หน้าที่ของผู้เผยพระวจนะคือประกาศ สำแดง เปิดเผย พระวจนะของพระเจ้าและ
พระประสงค์ของพระองค์ต่อประชาชน (1 พงกษัตริย์ 22:8; เยเรมีย์ 1:7,9; เอเสเคียล 3:4,27; อาโมส 3:7) ถ้อยคำที่เปิดเผยเป็น
เรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน หรืออนาคต เช่น เรื่องของพระเมสสิยาห์ การพิพากษาลงโทษ การเรียกร้องให้กลับมา
หาพระเจ้า ความรอด ฯลฯ
พระคริสต์:
เป็นพระนามเล็งถึงตำแหน่งอันมีเกียรติของพระเยซู มาจากคำภาษากรีกว่า “คริสตอส” ซึ่งแปลมาจากคำภาษาฮีบรูว่า
“เมสสิยาห์” (ยอห์น 1:41; 4:25) หมายถึง “ผู้ที่ได้รับการเจิม” บรรดาผู้เผยพระวจนะ ปุโรหิต และ กษัตริย์ในพระคัมภีร์เดิม ล้วน
แต่รับการเจิมเป็นผู้รับใช้ของพระเจ้า พระเยซูทรงได้รับการเจิมให้เป็นผู้เผยพระวจนะ ปุโรหิต และกษัตริย์ในเวลาเดียวกัน พระองค์
จึงทรงเป็นพระเมสสิยาห์ที่พระเจ้าทรงสัญญาไว้ ผู้ซึ่งมีฐานะยิ่งใหญ่กว่ากษัตริย์ดาวิด (สดุดี 2:2,6; ยอห์น 6:14-15) ยอห์น ผู้ให้
รับบัพติศมาปฏิเสธว่า ท่านเองไม่ใช่พระคริสต์ (ยอห์น 1:20) แต่พระเยซูต่างหากทรงเป็นผู้นั้น อัครทูตเปโตรเองก็ยืนยันว่า “พระองค์
ทรงเป็นพระคริสต์” (มัทธิว 16:16)
พระคุณ:
เป็นความรักเมตตาที่พระเจ้าสำแดงต่อมนุษย์ ทั้งที่มนุษย์ไม่สมควรจะได้รับ และไม่สามารถทำสิ่งใดเป็นการตอบแทนได้
พระคุณนี้เห็นได้จากการที่พระเจ้าทรงให้พระเยซูคริสต์มาช่วยมนุษย์ ให้รอดพ้นจากบาป กลับคืนดีกับพระองค์ (ยอห์น 1:16; โรม
5:2; 2 โครินธ์ 5:19; ทิตัส 2:11) และเห็นได้จากพระพรอื่นๆ ที่พระเจ้าประทานให้ (อฟ.3:1) ผู้เชื่อในพระองค์จึงสำนึกถึงพระคุณ
เหล่านี้ ด้วยการถวายตัวรับใช้และนำพระพรส่งต่อไปยังคนอื่นๆ (โรม 12:1; เอเฟซัส 4:1-3)
พระที่นั่งพระกรุณา:
เป็นฝาปิดทองคำที่อยู่บนหีบพันธสัญญา (อพยพ 25:17-21) เหนือฝาหีบนั้นมีเครูบ 2 รูปอยู่ปลายพระที่นั่งข้างละรูป พระที่
นั่งกรุณานี้เป็นสัญลักษณ์ของการสถิตอยู่ของพระเจ้า และเล็งถึงความรักเมตตาของพระองค์ที่ทรงอภัยโทษบาป เลือดที่ใช้ลบมลทิน
บาปจะถูกนำมาประพรมที่พระที่นั่งปีละครั้งโดยมหาปุโรหิตในวันลบบาป (เลวีนิติ16:1-5; ฮบ.9:5) พระคัมภีร์ใหม่ใช้คำนี้เปรียบ
ถึงการที่คริสตชนมาเข้าเฝ้าพระเจ้าโดยผ่านทางพระเยซูคริสต์ (ฮีบรู 4:14-16)
พระบุตร:
คือพระเยซูคริสต์องค์เดียวเท่านั้น คำนี้แสดงถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างพระเจ้าผู้ทรงเป็นพระบิดา และพระเจ้าผู้ทรงเป็น
พระบุตร แต่ก็มิได้มีความหมายว่าพระบุตรทรงด้อยกว่าพระบิดา เพราะพระเยซูตรัสว่า พระบิดาและพระบุตรเป็นอันหนึ่งอันเดียว
กัน (ยอห์น 10:30; 14:9; 17:11,22) ใครเห็นพระบุตรก็เห็นพระบิดาด้วย
พระวิญญาณ:
พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระบิดาและพระบุตร ทั้งสามพระภาคนี้ก็คือพระเจ้าผู้ทรงเป็นตรีเอกานุภาพ
(หมายถึงสามเป็นหนึ่ง) คำว่า “วิญญาณบริสุทธิ์” ในพระคัมภีร์เดิมปรากฏเพียง 3 ครั้งคือ ใน สดุดี 51:11; อิสยาห์ 63:10,11 แต่
คำนี้ปรากฏมากมายในพระคัมภีร์ใหม่ ซึ่งมีเหตุการณ์กล่าวถึงกิจการของพระวิญญาณบริสุทธิ์ในชีวิตของผู้เชื่อ เช่น ทรงให้ของ
ประทานต่างๆ (1 โครินธ์ 12:4-11) สถิตอยู่กับผู้เชื่อ (1 โครินธ์ 3:16; 6:19) ทำให้ผู้เชื่อเกิดผลฝ่ายพระวิญญาณ (กาลาเทีย 5:22-23)
พระวิหาร:
พระวิหารเป็นสัญลักษณ์เล็งถึงที่ประทับของพระเจ้า สมัยก่อนมีลักษณะเป็นเต็นท์ที่ขนย้ายไปมาได้ พระวิหารหลังแรกสร้าง
ขึ้นในสมัยของกษัตริยซ์ าโลมอน (ประมาณป 950-940 กอ่ น ค.ศ.) ตั้งอยูใ่ นกรุงเยรูซาเล็ม บนเนินเขาโมริยาหห์ รือเนินเขาศิโยน
และในปี 586 ก่อน ค.ศ. พระวิหารหลังนี้ถูกกองทัพบาบิโลนเผาทำลายจนราบคาบ ต่อมาภายหลังพวกยิวกลับจากการเป็นเชลย
ที่บาบิโลน ในสมัยของผู้เผยพระวจนะฮักกัย (ปี 520-515 ก่อน ค.ศ.) ได้มีการสร้างพระวิหารขึ้นใหม่อีก ถือเป็นพระวิหารหลังที่
สอง ในสมัยของกษัตริย์เฮโรดมหาราชได้มีการบูรณะและขยายพระวิหารหลังนี้จนใหญ่โตสวยงาม แต่ในที่สุดก็ถูกกองทัพโรมัน
ทำลายย่อยยับในปี ค.ศ.70 แต่ก็ยังคงมีซากของพระวิหารเหลือให้เห็นบ้างในกรุงเยรูซาเล็ม และชาวยิวในปัจจุบันได้ใช้ที่นั่นเป็น
ที่ชุมนุมกันจนถึงทุกวันนี้ เพื่อคร่ำครวญและระลึกถึงพระวิหารที่ถูกทำลายไป ซากที่เหลือให้เห็นคือกำแพงร้องไห้ในปัจจุบัน
พระสิริ:
แปลว่า สง่างาม เมื่อใช้คำนี้กับพระเจ้าทั้งในพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมและใหม่ มีความหมายครอบคลุมถึงความยิ่งใหญ่สง่า
งาม และความบริสุทธิ์ของพระเจ้า เป็นการพรรณนาถึงพระลักษณะอันสมบูรณ์ดีเลิศของพระองค์
พระเมตตา:
ในพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่คำว่า “พระเมตตา” หรือ “เมตตา” (โรม 9:23; 15:9; 2 ทิโมธี 1:2,16,18) มักแปลมาจากคำภาษา
กรีกว่า “เอะเละออส” ซึ่งพระคัมภีร์ไทยแปลว่า “พระกรุณา” ด้วย (ลูกา 1:50, 54, 58, 72; เอเฟซัส 2:4; 1 ทิโมธี 1:2) พระคัมภีร์ใช้
คำนี้หมายถึง พระลักษณะของพระเจ้าที่ครอบคลุมทั้งความรักเมตตา ความกรุณา ความสัตย์ซื่อ ความเห็นอกเห็นใจ พระเมตตา
ของพระเจ้าสำแดงออกทางการเสด็จมาของพระเยซู และจะสำแดงอีกครั้งในวันพิพากษา (2 ทิโมธี 1:18; ยากอบ 2:13) คำนี้มี
ความหมายคล้ายกับคำว่า “เคเสด” (ภาษาฮีบรู) ในพระคัมภีร์เดิม ซึ่งมักจะแปลว่า “ความรักมั่นคง”
พระเมษโปดก:
แปลว่า “ลูกแกะ” คำนี้ปรากฏ 28 ครั้งในหนังสือยอห์นและวิวรณ์ ยอห์น ผู้ให้รับบัพติศมาเป็นผู้กล่าวคำนี้ใน ยอห์น 1:29,36
เพื่อให้สาวกของท่านทราบว่าพระเยซูคือใคร บางคนคิดว่า ยอห์นอาจหมายถึงลูกแกะที่ถูกนำไปเผาบูชาที่พระวิหาร หรือหมาย
ถึงเครื่องบูชาที่ถวายในวันปัสกา หรือหมายถึงลูกแกะในหนังสืออิสยาห์ 53:7 ความหมายสำคัญของคำว่า “พระเมษโปดกของ
พระเจ้า” คือพระเยซูเสด็จมาในโลกเพื่อรับโทษบาปแทนมนุษย์ทุกคน (ยอห์น :29,36) เหมือนดังลูกแกะที่ถูกนำไปถวายเป็นเครื่อง
บูชาไถ่บาป ตามบทบัญญัติว่าด้วยการถวายบูชาของชาวยิว
พลับพลา:
พลับพลา (อพยพ 26:1) หรือเต็นท์ (กันดาลวิถี 9:15) หรือเพิง (เลวีนิติ 23:43) เป็นที่พักอาศัยชั่วคราว เช่น ที่พักของคนเลี้ยง
สัตว์เร่ร่อนในตะวันออกกลาง เพราะพวกนี้ต้องย้ายที่บ่อยๆ เพื่อหาทุ่งหญ้าให้สัตว์กิน เต็นท์นี้กางและเก็บได้ง่าย อาจทำด้วยหนัง
สัตว์ ผ้าหนา หรือขนสัตว์ที่ทอเป็นผืน ในสมัยโมเสส ชาวอิสราเอลอาศัยอยู่ในเต็นท์ตลอด 40 ปี จนกระทั่งเข้าสู่ดินแดนฃานาอัน
จึงมีการสร้างบ้านพักอาศัย สถานนมัสการที่พระเจ้าให้ชาวอิสราเอลสร้างในสมัยแรก ก็อยู่ในรูปเต็นท์ขนาดใหญ่หรือพลับพลาซึ่ง
สามารถขนย้ายได้สะดวก โดยเริ่มแรกตั้งอยู่ที่เมืองชิโลห์ ต่อมาในสมัยกษัตริย์ซาโลมอนได้สร้างเป็นพระวิหารที่ถาวร คำว่า “เต็นท์”
ในพระคัมภีร์ใหม่ ยังเป็นสัญลักษณ์หมายถึงสิ่งที่ชั่วคราว (ฮิบรู 11:9-10)
พันธสัญญา:
ในตะวันออกกลางสมัยโบราณ พันธสัญญาหมายถึง คำสัญญาระหว่างสองฝ่ายซึ่งประกอบด้วยข้อตกลง (เฉลยธรรมบัญญัติ
29:1) การให้พร (เฉลยธรรมบัญญัติ 28:1-14) และการสาปแช่ง (เฉลยธรรมบัญญัติ 28:15-68) แต่พันธสัญญาระหว่างพระเจ้ากับ
มนุษย์ไม่เหมือนกับพันธสัญญาทั่วไป เพราะเป็นข้อตกลงระหว่างสองฝ่ายที่มีฐานะไม่เท่าเทียมกัน คือพระเจ้าเป็นผู้ประทานและ
มนุษย์เป็นเพียงผู้รับ และพระองค์ทรงทำพันธสัญญาด้วยพระมหากรุณาธิคุณ พันธสัญญาต่างๆ ที่พระเจ้าทรงกระทำในสมัย
ความหมายคำศัพท์ในคริสตศาสนา - 75
พระคัมภีร์เดิมนั้น เป็นการเตรียมทางไว้สำหรับพันธสัญญาใหม่ ที่เยเรมีย์พยากรณ์ไว้ใน เยเรมีย์ 31:31-34 ซึ่งสำเร็จในองค์พระ
เยซูคริสต์ (มัทธิว 26:28; ฮีบรู 8:1-13) คือมนุษย์จะได้รับการชำระบาปโดยพระโลหิตของพระองค์ เพื่อเขาจะเริ่มชีวิตใหม่ที่บริสุทธิ์
ตามพันธสัญญา พันธสัญญาใหม่นี้เป็นพันธสัญญานิรันดร์ที่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง ซึ่งพระเจ้าทรงสถาปนาขึ้นโดยทางพระเยซูผู้เป็น
คนกลางระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ (ฮีบรู 9:15)
ฟาริสี:
เป็นกลุ่มผู้นำทางศาสนาของชาวยิว ที่มีบทบาทสำคัญในปาเลสไตน์ เกิดขึ้นจากกลุ่มคนที่มีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะประพฤติ
ตามกฎบัญญัติทุกข้อ ที่ปรากฏในธรรมบัญญัติของโมเสส พวกฟาริสีเคร่งครัดในเรื่องการถือขนบธรรมเนียมประเพณี โดยเฉพาะ
ข้อห้ามต่างๆ พวกเขาถือว่าพระเจ้าไม่พอพระทัยผู้ใดเลยนอกจากพวกเขา พวกเขาจึงไม่ยอมคบกับคนต่างชาติหรือชาวยิวที่ไม่เคร่ง
ศาสนา พวกฟาริสีพยายามตีความบทบัญญัติและกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อให้การปฏิบัติ ครอบคลุมการดำเนินชีวิตทุกด้าน จึงเกิด
กฎบัญญัติเพิ่มขึ้นอีกหลายร้อยข้อที่ไม่มีในพระคัมภีร์ กลายเป็นบัญญัติข้อหยุมหยิมเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เช่น การถือพิธีล้างชำระ
การถืออดอาหาร การถวายทศางค์ การกล่าวสาบานตัว เป็นต้น พวกฟาริสีบางคนสนใจแต่เรื่องการปฏิบัติตามกฎบัญญัติ แต่ไม่
สนใจสภาพฝ่ายจิตวิญญาณ พระเยซูจึงมักจะกล่าวตำหนิคนเหล่านี้อยู่เสมอ (มัทธิว 23) ซึ่งเป็นเหตุให้ฟาริสีพวกนี้ร่วมมือกับพวก
สะดูสีเพื่อวางแผนกำจัดพระองค์ พวกฟาริสีมีความเชื่อในเรื่องต่างๆ ที่ไม่ได้บันทึกในหมวดธรรมบัญญัติ (หนังสือ 5 เล่มแรกของ
พระคัมภีร์เดิม) เช่น การเป็นขึ้นจากตาย วิญญาณ ทูตสวรรค์ (กิจการ 23:6-8) และยังเชื่อว่าหนังสือเล่มอื่นๆ ในหมวดผู้เผยพระ
วจนะ และหมวดบทกวี เป็นส่วนหนึ่งของพระคัมภีร์ด้วย หลังจากกรุงเยรูซาเล็มถูกทำลายในปี ค.ศ.70 พรรคสะดูสี และพรรคเล็กๆ
ค่อยๆ สูญสลายไป เหลือแต่พรรคฟาริสี ทำให้ชาวยิวนับตั้งแต่ในสมัยนั้นเป็นต้นมา ต่างพยายามปฏิบัติตามแนวคำสอนของพวก
ฟาริสีเท่านั้น
วันแห่งพระเจ้า:
ชนชาติอิสราเอลในสมัยพระคัมภีร์เดิม รอคอยวันที่พระเจ้าจะเสด็จมาจัดการกับมนุษย์อย่างเด็ดขาด เพื่อแก้ไขสิ่งผิดๆ และ
ตั้งความยุติธรรมของพระองค์ขึ้นในโลก พวกเขาเรียกวันนี้ว่า “วันแห่งพระเจ้า” พวกอิสราเอลคิดว่าในวันแห่งพระเจ้านี้จะได้รับแต่
พระพร และการช่วยกู้จากพระเจ้าเท่านั้น (อิสยาห์ 4:2; 10:20) แต่พวกผู้เผยพระวจนะประกาศว่า วันนั้นจะกลายเป็นวันแห่งความ
มืดมิด เป็นวันวิบัติ วันแห่งการพิพากษาโทษอันเนื่องจากบาปที่ชาวอิสราเอลได้กระทำ (อิสยาห์ 2:11-17; อาโมส 5:18-20; เศฟันยาห์
1:14-18) ผลของการพิพากษาโทษทำให้เกิดความหายนะร้ายแรงยิ่ง อวสานกาล (ยก.5:3) วันแห่งพระเยซูเจ้า (2 โครินธ์ 1:14)
วันสำคัญแห่งพระพิโรธ (วิวรณ์ 6:17) วันที่พระเจ้าทรงลงพระอาชญา (โรม 2:16) วาระสุดท้าย (1 เปโตร 1:5) และ วันสำคัญยิ่ง
(ยูดาห์ 6)
สะบาโต :
คำนี้มาจากภาษาฮีบรูแปลว่า “หยุดพัก” ปรากฏครั้งแรกในปฐมกาล 2:2-3 ที่บันทึกว่า พระเจ้าทรงสร้างโลกหกวัน และหยุด
พักในวันที่เจ็ด ต่อมาในสมัยของโมเสส พระเจ้าทรงประทานบัญญัติสิบประการแก่ชนชาติอิสราเอล โดยบัญญัติข้อที่สี่นั้น ทรงสั่ง
ให้หยุดพักในวันที่เจ็ด (วันสะบาโต) โดยให้ถือว่าเป็นวันบริสุทธิ์ (อพยพ 20:8) ในสมัยที่ชาวอิสราเอลถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลยที่
บาบิโลน วันสะบาโตก็มีความหมายเพิ่มขึ้นอีกคือ เป็นวันที่พวกเขาจะศึกษาพระบัญญัติของพระเจ้า แต่ตั้งแต่ปี 460 ก่อน ค.ศ.เป็น
ต้นมา มีการเข้มงวดเรื่องวันสะบาโตมากเกินไป จนถึงขนาดออกกฎหยุมหยิมมากมาย แต่พระเยซูไม่ทรงเห็นด้วย เพราะพวกเขา
ยึดถือกฎบัญญัติต่างๆ เพื่ออ้างว่าตนเป็นคนบริสุทธิ์ชอบธรรม แทนที่จะถ่อมตัวลงต่อพระเจ้า ทำให้วันสะบาโตกลายเป็นภาระ แทน
ที่จะเป็นพระพร (มาระโก 2:27) คริสตชนในสมัยเริ่มแรก นมัสการพระเจ้าในวันสะบาโตซึ่งเป็นวันเสาร์ แต่ต่อมาพวกเขานมัสการ
พระเจ้าในวันอาทิตย์ด้วย เพราะพระเยซูทรงเป็นขึ้นจากตายในวันอาทิตย์ (อพยพ 16:22-26; เยเรมีย์ 17:27) (ดูรายละเอียดการ
เปลี่ยนแปลงวันสะบาโตจากวันเสาร์มาเป็นวันอาทิตย์ในบทเรียนบทที่ 21)
สันติสุข:
ในพระคัมภีร์คำนี้หมายถึงความสงบสุขที่เกิดขึ้นในชีวิตสว่ นตัวหรือหมูค่ ณะ ซึ่งเปน็ ผลที่เกิดจากการคืนดีกันระหวา่ งสองฝา่ ย
คือ มนุษย์กับพระเจ้า (โรม 5:1) และมนุษย์กับมนุษย์ (เอเฟซัส 2:15)
สามัคคีธรรม:
มาจากคำภาษากรีกว่า “คอยโนเนีย” ตามรากศัพท์หมายถึง การมีส่วนร่วม แบ่งปันกัน เป็นความผูกพันทางจิตวิญญาณ
ระหว่างคริสตชนกับพระเจ้า และระหว่างคริสตชนด้วยกัน โดยทางการวายพระชนม์ของพระเยซูคริสต์ และการทำงานของ
พระวิญญาณบริสุทธิ์ พระคัมภีร์ไทยได้แปล “คอยโนเนีย” โดยใช้หลายคำ เช่น สามัคคีธรรม (กิจการ 2:42) สัมพันธ์สนิท (1 โครินธ์
1:9) การมีส่วนร่วม (1 โครินธ์ 10:16) แบ่งปัน (ฮีบรู 13:16) ร่วมสามัคคี (1 ยอห์น 1:3) เป็นต้น
องค์พระผู้เป็นเจ้า:
ในพระคัมภีร์เดิมหมายถึงพระเจ้าผู้ทรงสร้างสรรพสิ่ง พระองค์ทรงเป็นผู้สมควรได้รับเกียรติจากมนุษย์ทั้งปวง (สดุดี 68:32;
76 - พบแล้ว
86:8-9) ส่วนพระคัมภีร์ใหม่ใช้คำต่างๆ คือ องค์พระผู้เป็นเจ้า พระผู้เป็นเจ้า พระองค์ผู้ทรงเป็นพระเจ้า พระเป็นเจ้า และ “เจ้า” หรือ
“เจ้าข้า” ใช้เป็นคำยอมรับอำนาจของพระเยซู ซึ่งเป็นผู้ทำพระราชกิจโดยฤทธิ์เดช และพระนามของพระเจ้า (มัทธิว 15:22)
นอกจากนี้เมื่อพระองค์เป็นขึ้นจากตายแล้ว พวกอัครทูตเข้าใจว่าพระเยซูทรงเป็นกษัตริย์แห่งยุคพระเมสสิยาห์
ฉะนั้นพวกเขาจึงกล่าวว่าพระองค์เป็นองค์พระผู้เป็นเจ้า ซึ่งมีเกียรติเสมอพระเจ้า (กิจการ 2:5)
อธรรม:
คำนี้มีความหมายคล้ายกับคำว่า การทำผิด หรือ การทำบาป (สดุดี 1:5; โรม 6:13; ฮีบรู 8:12) แต่เน้นในแง่การหลงจาก
ทางอันถูกต้อง (สดุดี 58:3; 2 เปโตร 2:15) เป็นการทำในสิ่งที่ผิดพลาดจากมาตรฐานที่พระเจ้าวางไว้ (โรม 1:29) บางครั้งก็หมาย
ถึง “ความไม่สัตย์ซื่อ” (ลูกา 6:8) หรือ “ความอยุติธรรม” (ลูกา 18:6)
อาเมน:
เป็นคำทับศัพท์ภาษาฮีบรู หมายถึง ความแน่นอน ความหนักแน่นมั่นคง ความน่าไว้วางใจ ความจริง ความสัตย์ซื่อ ชาว
อิสราเอลพูดคำนี้เมื่อต้องการยืนยันหรือสนับสนุนคำพูดของคนอื่น เช่น คำสาบาน คำอวยพร คำเผยพระวจนะ ฯลฯ ชาวยิวทั้งใน
สมัยพระคัมภีร์เดิมและพระคัมภีร์ใหม่ จะใช้คำนี้ในพิธีนมัสการ คือจะกล่าวคำว่า “อาเมน” เมื่อจบบทเพลงสดุดีและบทสรรเสริญ
พระเจ้า เพื่อเป็นการตอบสนองและยืนยันคำอธิษฐาน พระเยซูก็มักใช้คำนี้เมื่อเริ่มสั่งสอน คือคำกรีกที่ว่า “อาเมน อาเมน เลโก
ฮูมิน” ซึ่งในภาษาไทยแปลว่า “เราบอกความจริงแก่พวกท่านว่า” คำนี้ยังใช้กล่าวถึงพระลักษณะของพระเยซู ว่า “ทรงเป็นพระ
อาเมน” (วิวรณ์ 3:14) ซึ่งมีความหมายว่า พระองค์เป็นผู้สัตย์ซื่อ น่าไว้วางใจ ทรงเป็นพระเจ้าแห่งสัจจะ
เครื่องบูชา:
คือสิ่งที่มนุษย์ถวายแด่พระเจ้าโดยเลือกเฉพาะที่ไม่มีตำหนิ (เลวีนิติ 1:3; 3:1) ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อนมัสการ ขอบพระคุณ และ
รับการชำระมลทินบาป เครื่องบูชามีสองประเภทใหญ่ๆ คือ
1) ธัญญบูชา (พืช)
2) สัตวบูชา (สัตว์)
เครื่องบูชาที่พบในพระคัมภีร์ได้แก่ เครื่องธัญญบูชา (ลนต.2:1) เครื่องหอม (ลนต.10:1; ลก.1:9) เครื่องดื่มบูชา (อพย.29:40)
เครื่องบูชาไถ่บาป (เลวีนิติ 4:2) เครื่องเผาบูชา (เลวีนิติ 7:2) เครื่องบูชาไถ่กรรมบาป (เลวีนิติ 7:2) เครื่องศานติบูชา (เลวีนิติ 7:11)
ในสมัยก่อนสร้างพระวิหาร ชาวอิสราเอลถวายเครื่องบูชาตามสถานที่ต่างๆ แต่เมื่อมาถึงตอนปลายสมัยของผู้วินิจฉัย (เอลี
ซามูเอล) เริ่มมีการฟื้นฟูการถวายเครื่องบูชาให้มีระเบียบแบบแผน โดยมีปุโรหิตเป็นคนจัดการ และมีศูนย์กลางการถวายบูชาที่
เมืองชิโลห์ ต่อมาในสมัยซาโลมอนการถวายบูชาจะถูกจำกัดให้ทำเฉพาะที่พระวิหารเท่านั้น สำหรับชาวยิวการถวายบูชายุติลงเมื่อ
พระวิหาร (หลังที่ 2) ถูกทำลายในปี ค.ศ.70 และไม่มีการสร้างขึ้นมาใหม่ ส่วนคริสตชนไม่มีการถวายเครื่องบูชา ก็เพราะเชื่อว่า
พระเยซูได้ทรงสละพระชนม์ชีพเป็นเครื่องบูชาอันสมบูรณ์ถาวรแล้ว (ฮีบรู 10:1-18)
เนื้อหนัง:
ในพระคัมภีร์เดิมหมายถึงร่างกายของมนุษย์ซึ่งสูญสลายได้ แต่ในพระคัมภีร์ใหม่ส่วนใหญ่มีความหมายลึกกว่านั้น (โรม 8:4-
8) คือเป็นตัวการที่ทำให้เราทำบาป มันจึงเป็นอำนาจบาปที่แฝงอยู่ในตัวเรา ทำให้เราต่อสู้และไม่ประพฤติตามน้ำพระทัยของ
พระเจ้า ไม่ยอมประพฤติตามพระวจนะของพระองค์ (กาลาเทีย 5:19-21) เนื้อหนังจึงเป็นสิ่งที่นำเราไปสู่ความตาย (รม.8:6) และ
เป็นศัตรูกับพระวิญญาณ ด้วยเหตุนี้พระเยซูจึงตรัสสอนว่า เนื้อหนังไม่มีประโยชน์ใดๆ เลย (ยน.6:63) เนื้อหนังจึงเล็งถึงอำนาจบาป
ในตัวมนุษย์ทั้งฝ่ายร่างกายและจิตวิญญาณ
เลือด:
คำว่าเลือดในพระคัมภีร์เดิม มีความหมายเล็งถึงชีวิตที่พระเจ้าทรงให้ ด้วยเหตุนี้ เลือดจึงเป็นสิ่งประเสริฐ พระเจ้าจึงห้ามรับ
ประทานเนื้อที่มีเลือดติดอยู่ (ปฐมกาล 9:4) ชาวอิสราเอลจะไม่กินเลือดโดยเด็ดขาด (เลวีนิติ 17:12) ในการถวายบูชาตามพันธ
สัญญาเดิมนั้น แทนที่จะใช้วิธีการทวงเอาชีวิตจากผู้ที่กระทำผิด พระเจ้าทรงรับเลือดของสัตว์เป็นเครื่องไถ่บาปแทน แต่ในพันธ
สัญญาใหม่ พระเยซูคริสต์ทรงวายพระชนม์ และให้โลหิตของพระองค์ไหลออก เพื่อเป็นเครื่องบูชาไถ่บาปผิดของมนุษย์ทุกคน (ยอห์น
1:29; อฟ.1:7) เป็นการประทับตราแห่งพันธสัญญาใหม่ และเป็นเครื่องหมายแห่งพันธสัญญาระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า
แดนคนตาย:
ในพระคัมภีร์ฉบับฮีบรู คือคำว่า เชโอล ส่วนพระคัมภีร์เดิมฉบับแปลกรีก (เซปทัวจินต์) คือ เฮเดส ดังนั้น เชโอลกับเฮเดสจึง
หมายถึงสิ่งเดียวกัน แต่เฮเดสมีรายละเอียดบางอย่างเพิ่มเติม เนื่องจากความเข้าใจเรื่องชีวิตหลังความตายค่อยๆ กระจ่างชัดขึ้น
ในเวลาต่อมา
ความหมายคำศัพท์ในคริสตศาสนา - 77
ก. แดนคนตายในพระคัมภีร์เดิม หมายถึง
— 1. สถานที่
— — 1.1 ที่อยู่ของคนตายทั้งคนดีและคนชั่ว (ปฐมกาล 37:35; สดุดี 9:17) เป็นที่ที่คนไปแล้วกลับมาไม่ได้ (โยบ 10:21;
16:22) ในที่นี้ไม่มีกิจกรรมใดใดแม้แต่การสรรเสริญพระเจ้า (สดุดี 115:17; ปัญาจารย์ 9:10)
— — 1.2 ที่ที่คนดีและคนชั่วได้รับการตอบแทนตามการกระทำของตัวเอง เช่นการลงไปยังแดนคนตาย เป็นการลงโทษคน
ชั่วร้าย (สดุดี 55:15)
— — 1.3 ดินแดนที่อยู่ใต้พิภพ ทั้งลึก มืดมิดและเงียบสงัด (กันดารวิถี 16:30,33; โยบ 11:8; 10:21-22; สดุดี 94:17; อาโมส
9:2)
— — 1.4 หลุมฝังศพ (ปฐมกาล 37:35)
— 2. ความตาย (ปฐมกาล 42:38; สดุดี 16:10; 18:5)
— 3. สภาวะของวิญญาณที่อยูร่ ะหวา่ งความตายกับการเปน็ ขึ้นจากตาย วิญญาณคนตายจะอยูใ่ นสภาพเฉื่อยชา้ ไมม่ ีแรง
(สดุดี 88:4)
ข. แดนคนตายถูกเปรียบว่าเป็นดั่งสัตว์ร้ายหรือปีศาจที่ไม่รู้จักอิ่ม มันอ้าปากกว้างกลืนกินผู้คนมากมาย (สุภาษิต 1:12;
อิสยาห์ 5:14; ฮาบากุก 2:5)
ค. แดนคนตายในพระคัมภีร์ใหม่ เราเห็นชัดขึ้นจากอุปมาของพระเยซูเรื่องเศรษฐีกับลาซารัส (ลูกา 16:19-31) เมื่อเศรษฐี
ตายต้องไปอยู่แดนคนตาย(เฮเดส) ที่มี — 1) เปลวไฟ — 2) ความทุกข์ระทม — 3) เหวใหญ่ขวางกั้น ซึ่งคือนรกนั่นเอง (มัทธิว
16:18)
แผ่นดินของพระเจ้า:
ในพระคัมภีร์หมายถึงการครอบครองของพระเจ้า ที่ไม่ได้ถูกจำกัดด้วยเขตแดน หรือเวลา หรือยุคสมัย (อพยพ 15:18; สดุดี
145:13; มาระโก 1:15) ในกิตติคุณมัทธิวมักจะใช้คำว่า “แผ่นดินสวรรค์” (มัทธิว 3:2; 13:11; 25:1) แทนคำว่า “แผ่นดินของพระเจ้า”
เพราะมีความหมายเดียวกัน ในกิตติคุณมาระโกได้สรุปข่าวประเสริฐของพระเยซูว่าเป็นเรื่องแผ่นดินของพระเจ้า (มาระโก 1:14-15)
ส่วนในกิตติคุณยอห์นจะไม่ใช้คำว่า “แผ่นดินของพระเจ้า” มากนัก แต่ใช้คำว่า “ชีวิตนิรันดร์” มากกว่า (มัทธิว 19:16-30; ยอห์น
3:36; 10:28; 12:25) พระเยซูมักจะสอนเรื่อง “แผ่นดินของพระเจ้า” โดยใช้คำอุปมาในคำเทศนา และพระองค์ยังกล่าวถึงอำนาจ
ของแผ่นดินของพระเจ้าที่ปรากฏในพระราชกิจ เช่น การขับผี (ลูกา 11:20) พระองค์ทรงสอนว่า แผ่นดินของพระเจ้ามาถึงแล้วทาง
พระองค์ (ลก.11:20) แต่จะปรากฏอย่างครบบริบูรณ์เมื่อพระองค์เสด็จกลับมา (มัทธิว 16:27; 25:31)
โลก:
คำนี้ในพระคัมภีร์ใหม่มีความหมายได้หลายอย่างคือ
— 1) — จักรวาลที่พระเจ้าทรงสร้าง (มัทธิว 13:35; กิจการ 17:24)
— 2) — แผ่นดินโลก (ยอห์น 11:9; 16:21)
— 3) — มวลมนุษย์ (ยอห์น 3:16; 2 ฃร.5:19)
— 4) — การกระทำและค่านิยม (มัทธิว 16:26; 1 โครินธ์ 7:33)
— 5) — ความชั่วร้ายที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามกับพระเจ้า (1 ยอห์น 2:15-17)
ไถ่:
การไถ่เป็นการเปรียบเทียบถึงความรอด คนที่ทำบาปก็เป็นทาสบาป และโทษของบาปก็คือความตาย คนที่ทำบาปไม่มีทาง
ไถ่ตนเองให้พ้นโทษได้ พระเยซูคริสต์จึงได้สิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน เพื่อไถ่คนบาปให้รอดพ้นจากความบาป และรับการอภัยโทษ
(มัทธิว 20:28; โรม 3:24; 1 เปโตร 1:19) แต่ในพระคัมภีร์ยังมีการกล่าวถึงการไถ่ในแง่อื่นๆอีก เช่น การไถ่คน (เลวีนิติ 25:47-49;
กันดารวิถี 3:45-51; 1 โครินธ์ 7:21; ดู ทาส) ไถ่สัตว์ (อพยพ 13:13) ไถ่สิ่งของ (เลวีนิติ 23:14-15) ไถ่ที่ดิน (เลวีนิติ 25:25)
ข้อมูลจากสมาคมพระคริสตธรรมแห่งประเทศไทย