บทที่ 6. ทางเลือกของท่านทำไมต้องใช้ยาเสพติด

ทุกวันนี้ การใช้สิ่งเสพย์ติดดูราวกับว่าเป็นสิ่งที่ทุกคนยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ประมาณกลางศตวรรษที่ 20 มีการใช้ยาเสพย์ติดกันอย่างแพร่หลาย ใหญ่เป็นเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ นิโคตินและคาเฟอีน ส่วนใหญ่แอลกอฮอล์มาในรูปแบบของเบียร์ เหล้าไวน์และสุราชนิดต่าง ๆ เครื่องดื่มเหล่านี้เป็นที่โปรดปรานของผู้ดื่ม นอกเหนือจากเครื่องดื่มเหล่านี้ยังมีสิ่งเสพย์ติดชนิดอื่นที่เราต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ ดังนี้

· ยาเสพย์ติดที่จะออกฤทธิ์มีผลกระตุ้นสมองและการทำงานของร่างกายอย่างรวดเร็ว เช่น แอมเฟตามีน (ยาบ้า) ยาอี จัดเป็นยาเสพย์ติดประเภทกระตุ้นประสาท

· ยาเสพย์ติดที่ทำให้เกิดภาพหลอนและไม่อยู่ในโลกของความเป็นจริง เช่น กัญชา แอลเอสดี ยาอี จัดเป็นยาเสพย์ติดประเภทหลอนประสาท

· ยังมียาเสพย์ติดชนิดอื่นอีกที่จะทำให้จิตใจและสมองสงบ เช่น ยานอนหลับ เฮโรอีน พวกนี้เรียกว่า ยากล่อมหรือยาระงับประสาท

ยาเสพย์ติดตัวใหม่เป็นสิ่งผิดกฎหมาย แต่ยาเสพย์ติดชนิดเดิมที่มีอยู่แล้วเป็นสิ่งถูกกฎหมาย ลองมโนภาพดูว่าสิ่งเหล่านี้ไม่เป็นที่รู้จักมาก่อน จากนั้นมีผู้พยายามนำมาเผยแพร่ตอนนี้ ทั้งบุหรี่ นิโคติน สุรา เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์คงจะถือว่าเป็นสิ่งผิดกฎหมายด้วยเช่นกัน

รัฐบาลหลายประเทศพยายามหาทางรับมือค่าใช้จ่ายที่ต้องสูญเสียไปกับสุขภาพของประชาชนและปัญหาทางสังคมที่มีมากมายมีสาเหตุจากยาเสพย์ติดเหล่านี้

ทำไมคนเราจึงใช้ยาเสพย์ติด

มีการวิจัยมากมายที่ใช้เงินมากกว่าหมื่นล้านเหรียญสหรัฐทำวิจัยเพื่อค้นหาเหตุทำไมมนุษย์ถึงใช้ยาเสพย์ติด ค้นพบคำตอบบางประการดังนี้

1. เพื่อให้ตัวเองที่ยอมรับ

การใช้ยาเสพย์ติดครั้งแรก หรือการทดลองใช้ยาเสพย์ติด มักเกิดจากผลอิทธิพลของเพื่อนหรือคนรอบข้าง

(“แรงบีบคั้นจากเพื่อน”) เมื่อมีความต้องการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และลดแรงต่อต้านให้น้อย หรืออาจเป็นไปว่าต้องการต่อต้านสังคม ตัวอย่างเช่น การใช้ยาอี เริ่มจากผู้ชอบงานเลี้ยง และเต้นรำ ต่อมาแพร่ไปยังกลุ่มของเยาวชน

2. สร้างความเพริดเพลินเมื่อเสพ

เป็นความรู้สึกทำให้อยากเสพย์อีกเรื่อยๆ ตัวอย่างเช่น เมื่อดื่มน้ำชา กาแฟ เครื่องดื่มโคล่าหรือเครื่องดื่มบำรุงกำลังผสมคาเฟอีน แล้วรู้สึกกระปรี้กระเปร่าและอ่อนเพลียน้อยลง ทำให้ผู้อื่มมีความรู้สึกอยากกลับไปดื่มอีก

3. หนีจากความเป็นจริง

เป็นอีกสาเหตุหนึ่งผู้เสพที่อยากออกไปจากโลกของความเป็นจริง เพราะเกิดการเบื่อหน่าย กับชีวิตที่มีปัญหายุ่งยากมากมาย รู้สึกตัวเองแปลกแยกจากครอบครัวและสังคม ในคนบางกลุ่มคิดว่าดื่มสุรา เสพเฮโรอีน กินยาระงับประสาท หรือแอมเฟตามีน (ยาบ้า) เพื่อจุดนำตัวเองหลุดออกไปจากโลกแห่งความเป็นจริง ความกดดันและความเครียด จึงหาทางหนีออกไปจากสิ่งเหล่านี้

4. เพื่อสมรรถภาพที่ดีหรือสร้างรูปลักษณ์

เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ยากระตุ้น (ยาโดป) เพื่อเพิ่มสมรรถภาพด้านกีฬา ยาเหล่านี้จะทำให้สารในร่างกายเปลี่ยนแปลง สร้างกล้ามเนื้อ เพิ่มความอดทนและพละกำลัง เพื่อการแข่งขันกีฬามากขึ้น หรือเพิ่มรูปร่างให้ดูดี

5. การเสพย์ติด

ยาแต่ละชนิดดังที่กล่าวมา มีสิ่งที่ทำให้ผู้สนใจอยากเสพและทำให้ผู้เสพเลิกไม่ได้ง่าย ๆ เกิดขึ้นได้ทั่วไป ตัวเลขประมาณการประชาชนที่เสพสิ่งเสพย์ติดได้แก่ คาเฟอีน (ร้อยละ 33) เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ (ร้อยละ 25) และนิโคตินจากบุหรี่ (ร้อยละ 25) พลังของการเสพย์ติดนั้นไม่สามารถยับยั้งได้ จะถูกนำมาการใช้ใหม่เรื่อย ๆ และกลายเป็นการเสพย์ติดในที่สุด บางประเภททำให้เกิดการเสพย์ติดที่รุนแรง (สุรา นิโคติน เฮโรอีน กัญชา และแอมเฟตามีน หรือยาบ้า) แม้แต่อาการถอนคาเฟอีนของผู้ที่ติดเรื้อรังและหยุดใช้ฉับพลันเมื่อไม่ได้ดื่มจะเกิดอาการ ปวดหัว อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ง่วงซึม ระคายเคือง

ด้านลบของยาเสพย์ติด

1. เกิดการเสพติด

การเสพยาไม่ว่าชนิดใดเมื่อติดแล้วย่อมเกิดปัญหา ทำให้ผู้ใช้รู้สึกว่าไม่สามารถมีชีวิต

อยู่ต่อไปได้ถ้าขาดสิ่งนั้น การติดคาเฟอีนอาจไม่เป็นอันตราย แต่การต้องพึ่งพาสิ่งนี้คืออาการเสพย์ติดที่เป็นจริง บุหรี่ (นิโคติน) และแอลกอฮอลเป็นสิ่งเสพย์ติดที่มีอยู่อย่างแพร่หลายและเป็นของธรรมดาในสังคมปัจจจุบัน แต่สิ่งเหล่านี้สามารถทำให้คนเสพมากขึ้นและหนักขึ้นเรื่อย ๆ

2. เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

เกิดพฤติกรรมของผู้ใช้ยาเปลี่ยนไปคือผลที่เห็นชัดที่สุด แม้แต่ในผู้ดื่มเครื่องดื่มผสมคาเฟอีน

3. ไม่มีเหตุผล

การเสพเฮโรอีน แอมเฟตามีน (ยาบ้า) ยาอี หรือกัญชา ก่อให้เกิดอาชญากรรมมากมาย

เช่นเดียวกับการดื่มสุราแล้วขับรถ เด็กอายุต่ำกว่าวัยผู้ใหญ่ที่หัดสูบบุหรี่และดื่มเหล้า เมื่อไม่มีเงินจึงนำไปสู่การก่ออาชญากรรม เพื่อนำเงินไปซื้อมาเสพ ทั้งการลักขโมย เล่นการพนัน หรือ แม้กระทั่งค้าประเวณี

4. นำไปสู่การเสพติดยาประเภทอื่น

ส่วนมากผู้ใช้ยาเสพย์ติดแต่ละครั้งมักเสพมากกว่าหนึ่งชนิด เพราะการเสพแต่ละครั้งจะนำไปสู่การทดลองยาเสพย์ติดชนิดอื่น ๆ ได้ง่าย ที่เลวร้ายกว่านั้นคือยาเสพย์ติดชนิดที่สองและซ้ำติดง่ายและเร็วกว่าชนิดแรก มีผลร้ายที่เกิดตามมาก็เร็วมากเช่นเดียวกัน

5. ผลร้ายต่อเนื่อง

เป็นที่ทราบกันดีถึงผลการวิจัยของผู้ที่ใช้ยาเสพย์ติดอย่างอ่อน เช่น กัญชา ส่วนใหญ่มักมีแนวโน้มนำไปสู่การเสพยาเสพย์ติดชนิดอื่นที่แรงกว่า เช่น แอมเฟตามีน (ยาบ้า) เฮโรอีน ยาอี เป็นต้น แต่ผลการวิจัยที่ไม่ค่อยเป็นที่ทราบกันทั่วไปคือ การค้นหาว่า ทำไมวัยรุ่นเริ่มจากการสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า นำไปสู่การใช้ยาเสพย์ติดที่รุนแรงมากขึ้น ผลต่อเนื่องที่ตามมานั้นควรอย่างยิ่งที่นักการศึกษา ผู้ปกครอง และเจ้าหน้าที่ของรัฐควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ การป้องกันไม่ให้วัยรุ่นติดยาชนิดอ่อนเมื่ออายุยังน้อยได้ เท่ากับเป็นการลดความเสี่ยงทำให้เขาเข้าถึงยาชนิดแรงได้ช้ามากขึ้นเท่านั้น หากท่านในฐานะผู้ปกครองทำให้เด็กเห็นว่าการใช้ยา เครื่องดื่มหรือสิ่งใดซึ่งเป็นที่ยอมรับในสังคมได้ แทนการแก้ไขด้วยวิธีธรรมชาติ ท่านต้องถามตัวเองว่าการสื่อด้วยการกระทำของท่านเท่ากับเป็นการยินยอมให้เด็ก ๆ ทำได้ เท่ากับเป็นการทำให้เด็กเชื่อว่าทำได้และอาจนำเขาไปสู่การเข้าสัมผัสกับสิ่งเสพย์ติดเหล่านั้น

6. เปลี่ยนพฤติกรรม

พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงชั่วขณะ เกี่ยวข้องกับการใช้สิ่งเสพย์ติดประเภทนั้น เช่น การดื่มสุรา ทำให้สนุกสนาน หรือก้าวร้าวก็ได้

พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงเรื้อรัง แม้ผู้เคยเสพไม่ได้ใช้ยาแล้วก็ตาม ยังอาจแสดงอาการออกมา เช่น คนที่เคยเสพกัญชาและยาเสพติดชนิดรุนแรง มีอารมณ์ฉุนเฉียว ภาพหลอน คลุ้มคลั่ง

7. เปลี่ยนแปลงค่านิยม

วิถีชีวิตของผู้ใช้สิ่งเสพย์ติดมีแนวโน้มเสพยามากกว่าเดิมและมากชนิดขึ้นเรื่อย ๆ สิ่งรอบกายกลายเป็นสิ่งไม่มีคุณค่า หมดความหมาย ทั้งเพื่อน คนรัก กีฬา ดนตรี ศิลปะ เพศสัมพันธ์ แม้แต่อาหาร ไม่มีความหมายเท่ากับยาเสพย์ติด

8. การเงิน

ในแต่ละปียาเสพติดทำให้เงินไหลออกจากระบบการเงินของประเทศมากมาย ยาเสพย์ติดไม่ต้องเสียภาษี รัฐขาดรายได้ เงินเหล่านี้เมื่อรวมกับค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลผู้ป่วยติดยาเสพย์ติด ผู้ได้รับบาดเจ็บ ปัญหาทางสังคม การบรรเทาทุกข์ ค่าเสียหายทางคดี ค่าใช้จ่ายเรือนจำ ค่าใช้จ่ายที่ต้องเพิ่มกำลังตำรวจ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในชุมชน ค่าประกันภัยของเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายและผู้ไดัรับผลจากอาชญากรรม ค่าฟื้นฟูผู้เสพยาและแผนการป้องกันการติดยาเสพย์ติด ผู้ใช้ยาเสพย์ติดพบว่าเงินทองที่หามาได้ต้องสูญไป ส่งผลกระทบต่อการเงินในครอบครัวและคนใกล้ชิด

9. ความเจ็บป่วย

ยาเสพย์ติดย่อมเกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพมากมาย ผู้รับการรักษาต้องผ่านกระบวนการที่ต้องใช้เวลานานมาก เนิ่นช้า เจ็บปวด สร้างความทุกข์ยากทั้งแก่ผู้เสพและผู้ดูแลผู้ป่วยเหล่านั้นด้วย โรคตับ สมอง และโรคระบบหลอดเลือดนั้นเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ กว่าจะพบโรคเหล่านี้ต้องใช้เวลานาน เมื่อเกิดอาการเฉียบพลันและน่าเป็นห่วง น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่งที่การความเจ็บป่วยจากการดื่มสุราเป็นสิ่งที่สามารถป้องกันได้ เพียงไม่ริจะดื่มสุราเท่านั้นเอง

การสูบบุหรี่เป็นเวลานาน ก่อให้เกิดโรคมะเร็งของอวัยวะต่าง ๆ หลายอย่าง หัวใจ และโรคปอด เช่นถุงลมโป่งพอง

ผู้ที่ใช้ยาเสพย์ติดที่ฉีดเข้าทางเส้นเลือดนั้น จะพบการติดเชื้อได้ง่ายจากเข็มฉีดยา เช่น

ไวรัสตับอักเสบบีและซี โรคเอดส์ และอื่น ๆ ที่เป็นโรครุนแรงต่อชีวิต

ยาเสพย์ติดที่กระตุ้นความรู้สึกไม่สามารถควบคุมตนเองได้ หรือเมื่อเสพยาแล้วไปมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน จะเกิดโรคได้ เช่น การใช้กัญชา นำไปสู่การขาดสติยับยั้งนำไปสู่การติดกามโรค เกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยทางจิตใจด้วย เช่น การดื่มสุรา กัญชา เป็นอันตรายทำลายตับมากกว่าถึงสี่เท่า มากกว่าการสูบบุหรี่

10. ครอบครัว

สมาชิกในครอบครัว ญาติพี่น้องของผู้ที่ติดยาเสพย์ติดย่อมเกิดความทุกข์จากการสูญเสีย

ความรู้สึก เสียเงินทองและอับอาย ถูกทอดทิ้ง หรือถูกปองร้ายจากญาติที่ติดยา จากการขาดการควบคุมสติของเขา

การทำร้ายร่างกายสมาชิกในครอบครัวเกิดขึ้นเป็นผลมาจากการที่ผู้เสพไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ แทนที่จะทำตัวเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว คนเสพยากลายเป็นคนเห็นแก่ตัว กล้าแม้กระทั่งหลอกลวงคนในครอบครัว เพื่อจะขอความช่วยเหลือ

มีหน่วยงานหลายแห่งที่ช่วยเหลือผู้เสพย์ยา รัฐบาลถือว่าคนติดยาเสพย์ติดเป็นคนป่วย จึงสามารถขอความช่วยเหลือเพื่อรับการรักษาได้ โดยติดได้ศูนย์บำบัดยาเสพติดของแต่ละจังหวัด หรือที่ส่วนกลาง หรือจากองค์กรต่าง ๆ ที่ให้ความช่วยเหลือ

11. การอยู่ร่วมกัน

ใครก็ตามที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้ติดยาเสพย์ติด จะกลายมาเป็นกุญแจสำคัญในการเปลี่ยนแปลงเขา ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งสนับสนุนให้ใช้ยาเสพย์ติด แต่เพื่อให้เขาได้เห็นความแตกต่างของคนปกติว่าแตกต่างจากเขาอย่างไร ช่วยให้เขาเห็นคุณค่าตัวเองและสามารถกลับตัวกลับใจเพื่อเลิกเสพยาและกลับมาเป็นคนปกติอีกครั้งหนึ่ง

หนทางแก้ปัญหารับมือยาเสพติด

กลยุทธเบื้องต้นคือการค้นหาด้านบวกเพื่อสนองความต้องการของตนเอง โดยไม่เกิดความเสียหาย มีวิธีที่ดีเพื่อหลีกเลี่ยงความเครียดวิตกกังวลได้ เช่น การไปดูหนัง อ่านหนังสือเล่นเกมหรือออกไปเที่ยวกับเพื่อน การทำกิจกรรมที่ดีต่อสุขภาพนั้นสามารถ

ทำให้อาการเบื่อหน่ายหมดไป การไม่ใช้ยาเสพย์ติด ทำให้มีความสนุกมากกว่าและยังรู้

สึกเป็นที่ยอมรับของกลุ่มเพื่อนได้ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งยาเสพย์ติด สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง และใช้เวลาอยู่ร่วมกันกับครอบครัว ก็จะเป็นการแก้ปัญหายาเสพติดได้

การทำงาน จะทำให้มีความตั้งใจและสนใจในการทำสิ่งที่เกิดประโยชน์และอยู่ห่างยาเสพย์ติด อีกทางเลือกหนึ่งคือ การช่วยเหลือสังคม ทำสิ่งต่าง ๆ ที่คุณสามารถทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่สังคมได้ สิ่งนี้จะช่วยให้คุณรู้สึกภูมิใจที่มีความสามารถและได้ช่วยเหลือผู้อื่น

เด็กที่มีแนวโน้มเริ่มทดลองใช้ยา ควรมีผู้ใหญ่ที่ดีคอยดูแลและให้คำแนะนำที่ดี หากครอบครัวที่เข้มแข็งและอบอุ่นนั้นจะยิ่งทำให้พวกเขามีเครื่อข่ายที่มั่นคง และไม่พึ่งยาเสพย์ติด สิ่งนี้ต้องมีเพื่อนบ้าน คนรอบข้าง และโรงเรียนเป็นผู้ช่วยด้วยเช่นกัน

การใช้ชีวิตอยู่โดยไม่พึ่งยาเสพย์ติด

การห่างไกลจากยาเสพติดจะเป็นหนทางเลือกที่ดีสำหรับทุกคน เด็กควรได้รับความรู้การป้องกันตนเองจากภัยยาเสพย์ติด ให้กำลังใจกันในยามลำบากของชีวิต ใช้ชีวิตที่ปราศจากยาเสพย์ติด ควรมีสุขภาพที่แข็งแรง สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเป็นสุข การมีสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรง มีสังคมที่ดี สุขภาพจิตดี นั่นคือทางเลือกของท่าน

ศึกษาเพิ่มเติม….บทที่ 7 มีทั้งข่าวดีและข่าวร้ายเกี่ยวกับการสูบบุหรี่

ทบทวน

เมื่อศึกษาบทเรียนจบแล้ว ทบทวนความรู้ด้วยการตอบคำถามท้ายบท