8. ลดน้ำหนักแบบสุขภาพดี

คนเรามีรูปร่างหน้าตา ขนาดของร่างกายต่างกัน บางคนหวังอยากมีหุ่นสวยเพรียวอย่างนางแบบ แต่ร่างกายของท่านที่สุขภาพดีของท่านอาจมีน้ำหนักมาก มีขนาดร่างกายใหญ่กว่า ขึ้นอยู่กับขนาดและความสูงของร่างกาย ไม่ใช่ทุกคนจะสามารถแต่งกายด้วยเสื้อผ้ารัดรูปได้เหมือนกัน

ละความใส่ใจติดตามแฟชั่นล่าสุดไปเสีย หาเหตุผลที่ดีเพื่อให้ร่างกายดูดีและสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ การมีน้ำหนักเหมาะสมกับรูปร่างตัวเองนั้นจะทำให้มีสุขภาพดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า อายุยืนยาวกว่า

โรคอ้วนคืออะไร

โรคอ้วนเกิดขึ้นเมื่อมีไขมันที่ร่างกายสร้างขึ้นมามากเกินความจำเป็น และไขมันเหล่านี้มีผลทำให้ร่างกายเกิดโรคภัยไข้เจ็บมากมาย

ผู้ใหญ่สามารถตรวจได้ว่ามีไขมันมากเกินไปหรือไม่ จากดรรชนีวัดมวลของร่างกาย (Body Mass Index) ที่ท่านสามารถทำตามนี้ได้

  1. วัดความสูงของท่านตามหน่วยเมตร และยกกำลังความสูง เช่น 1.75 เมตร จากนั้นนำมายกกำลัง นั่นคือ คูณตัวเอง 1.75 x 1.75 = 3.06

  2. วัดน้ำหนักในหน่วยกิโลกรัม เช่น 95 กิโลกรัม

1. หารน้ำหนักด้วยส่วนสูงยกกำลังสอง จะได้จำนวนดรรชนีวัดมวลกาย

เช่น 95 หาร 3.06 จะได้ดรรชนีเท่ากับ 31

มวลของร่างกาย = น้ำหนักหน่วยกิโลกรัม

(ส่วนสูงหน่วยเมตร)2

2. เปรียบเทียบค่าดรรชนีที่ได้กับตัวเลขในตารางข้างล่าง

เช่น 31 อยู่ในขอบเขตภาวะน้ำหนักเกิน หรือโรคอ้วน หมายความว่า เป็นความเสี่ยงอย่างมากต่อสุขภาพ

การแบ่งขอบเขตของดรรชนีน้ำหนักในผู้ใหญ่

มวลของร่างกาย

น้อยกว่า 18.5

18.5 – 24.9

25 – 29.9

มากกว่า 30

ภาวะ

น้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน

น้ำหนักปกติ

น้ำหนักเกินมาตรฐาน

โรคอ้วน

สำหรับเด็ก ให้ดูตารางการเจริญเติบโตของร่างกาย ซึ่งสามารถบอกได้ว่าเด็กคนนั้นอยู่ในภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐานและเป็นโรคอ้วนได้หรือไม่ ดรรชนีวัดมวลกาย (BMI) นี้ สามารถใช้ได้กับคนทุกเพศและทุกเชื้อชาติ

ผู้เป็นโรคอ้วนแตกต่างจากคนอื่น ไม่เพียงมีไขมันที่ร่างกายต้องแบกไว้เท่านั้น แต่อยู่ที่ไขมันเหล่านั้นอยู่ตรงไหนของร่างกาย จากงานวิจัยเมื่อไม่นานมานี้แสดงให้เห็นว่าการกระจายของไขมันในร่างกายเป็นตัวบ่งชี้ความเสี่ยงของสุขภาพมากกว่าดรรชนีมวลกาย (เพราะดรรชนีบอกแต่เพียงน้ำหนักเกินหรือเป็นโรค แต่ไม่ ไม่ได้บอกการกระจายตัวของไขมันตามร่างกายว่ามีมากเพียงใด)

ไขมันส่วนเกินที่อยู่รอบเอวเป็นบริเวณที่บอกถึงความเสี่ยงการมีปัญหาสุขภาพ วิธีวัดไขมันรอบเอวอย่างง่ายทำได้โดยวิธีหาอัตราส่วนของเอวถึงสะโพก (Waist to Hip Ratio) ด้วยการวัดรอบเอวเป็นหน่วยเซนติเมตรและสะโพกเป็นหน่วยเซนติเมตรเช่นกัน นำตัวเลขวัดจากเอวมาหารด้วยตัวเลขวัดจากสะโพก ในผู้ชาย ถ้ามีอัตราส่วนมากกว่า 0.9 และในผู้หญิง 0.8 ถือว่าคนนั้นอยู่ในภาวะโรคอ้วนและมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ ตัวอย่างเช่น ผู้หญิงคนหนึ่งมีรอบเอว 90 เซนติเมตร และสะโพก 95 เซนติเมตร นำ 90 หาร 95 จะได้ 0.95 เมื่อดูอัตราส่วนแล้ว สำหรับผู้หญิง ไม่ควรเกิน 0.9 แต่ผู้หญิงคนนี้มีอัตราส่วน 0.95 แสดงว่าอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ

ประโยชน์ของการมีน้ำหนักพอดี

  • ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ

  • ลดความดันโลหิตไม่ให้สูงเกินไป

  • ลดภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่สองหรือชนิดไม่พึ่งอินซูชิน

  • ลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคนิ่ว

  • ลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคมะเร็งบางชนิด

  • ลดความเสี่ยงการเป็นโรคข้ออักเสบและโรคเก๊าท์

มีคนที่เป็นโรคอ้วนเกินไปกี่คน?

  • (ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข) มีผู้หญิงประมาณ1 ใน 3 และผู้ชายกว่าครึ่งในออสเตรเลยและนิวซีแลนด์กำลังประสบกับภาวะน้ำหนักมาตรฐาน และระหว่าง 10-20% นั้นเป็นโรคอ้วน สรุปทั้งหมดก็คือ มีประชากรกว่าครึ่งที่อ้วนเกินไปและมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้น

  • ในออสเตรเลีย ผู้ชายส่วนมากจะน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนมากกว่าผู้หญิง แม้ว่าผู้หญิงส่วนมากมักจะคิดว่าตัวเองนั้นอ้วนและต้องลดหรือจำกัดอาหาร นี่เป็นค่านิยมใหม่ในนิวซีแลนด์

  • สัดส่วนของคนที่จะมีรูปร่างอ้วนง่ายจะยิ่งอ้วนมากขึ้นตามอายุ และสูงขึ้นในทุกปี

  • อัตราของน้ำหนักเกินและโรคอ้วนจะยิ่งสูงมากขึ้นในหมู่คนที่ทำงานนั่งอยู่กับโต๊ะ (เช่น งานสำนักงาน ขับรถ) คนว่างงาน และกลุ่มคนที่ไม่ค่อยใช้แรงงาน

ทำไมน้ำหนักจึงเพิ่มขึ้น

ปัจจุบันจำนวนคนที่มีน้ำหนักมากเพิ่มขึ้นเนื่องมากจากความไม่สมดุลของพลังงานที่ได้รับจากอาหารและปริมาณพลังงานที่ร่างกายใช้ไปในแต่ละวันไม่สัมพันธ์กัน หากพลังงานที่ใช้ในแต่ละวันน้อยกว่าพลังงานที่ได้จากอาหาร พลังงานที่ไม่นำไปใช้จะถูกสะสมเก็บไว้ในรูปไขมัน หากความไม่สมดุลเกิดขึ้นมาเป็นเวลานาน ผู้นั้นจะมีน้ำหนักสะสมไว้มากเกินไป มีปัจจัยหลายอย่างที่ก่อให้เกิดความไม่สมดุลดังนี้

1. รับประทานอาหารมากเกินไป

ท่านอาจถูกยั่วยวนได้ เมื่อตุนอาหารไว้เต็มตู้เย็นหรือเห็นโฆษณาขนมขบเคี้ยวน่ากิน

ขนมเหล่านั้นไม่มีคุณค่าทางอาหาร มีแป้ง ไขมัน น้ำตาลมากเกินไป บางครั้งการกินจุก็เพื่อแก้ไขความเบื่อหน่าย การกินอาหารมากเกินไปกลายเป็นวิธีกลบเกลื่อนความวิตกกังวล หรือความเครียดก็เป็นได้ หรืออาจเกิดจากพฤติกรรมการกินจุของคนนั้นเอง

2. รับประทานอาหารที่มีไขมันมากเกินไป

การกินอาหารที่มีไขมันมากเกินไป ไขมันซึ่งจะมีพลังงานกิโลจูลที่มากถึงสองเท่าของอาหารจำพวกแป้ง (คาร์โบไฮเดรต) หรือโปรตีน กิโลจูลจากอาหารที่มีไขมันจะถูกเก็บสะสมได้ง่ายกว่าอาหารจากคาร์โบไฮเดรตหรือโปรตีน

3. ออกกำลังกายน้อยไป

การทำงานที่ออกแรงไม่ได้หมายความว่าเป็นการออกกำลังกาย การใช้เวลาไปทำกิจกรรมผ่อนคลายต่าง ๆ ไม่ได้ใช้พลังงานเท่าใดนัก ทุกวันนี้จำนวนคนออกกำลังกายน้อย ชีวิตประจำวันที่มีแต่การนั่งทำงานจับเจ่าอยู่กับโต๊ะทำให้สะสมไขมันไว้มาก จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมน้ำหนักตัวจึงเพิ่มขึ้นได้ง่ายและมากขึ้นอย่างที่ท่านไม่คาดคิดมาก่อน

4. พันธุกรรม

พันธุกรรมที่อยู่ในตัวท่านมีบทบาทมากต่อการมีแนวโน้มเป็นคนมีน้ำหนักตัวมากหรือน้อย เพราะการเป็นโรคสัมพันธ์กับกรรมพันธุ์ด้วย เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ เหล่านี้ มีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากกรรมพันธุ์ อย่างไรก็ตาม ท่านสามารถควบคุมประเภทอาหารที่รับประทานอยู่และปริมาณการออกกำลังกายที่สามารถทำได้ ดังนั้น แม้จะมีพันธุกรรมที่บ่งบอกว่ามีแนวโน้มอ้วนง่ายนั้น ท่านควรรีบปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตเสียใหม่ เพื่อไม่ให้สภาพย่ำแย่ไปกว่านี้

ทำอย่างไรจึงจะลดน้ำหนักอย่างเป็นธรรมชาติ

ไม่มียาวิเศษชนิดใดที่ช่วยลดน้ำหนักอย่างได้ผล สิ่งสำคัญที่สุดและทำให้ประสบความสำเร็จในการลดน้ำหนักได้นั้นคือการ ลดอาหารที่มีกิโลจูลมากลง ด้วยการรับประทานอาหารเหล่านี้ให้น้อยลง โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันสูงและเพิ่มการใช้พลังงานของร่างกายให้มากขึ้นโดยการออกกำลังกาย นี่คือวิธีการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตในแนวทางที่จะลดน้ำหนักลงได้

11 เคล็ดลับขั้นตอนเพื่อการลดน้ำหนัก

1. ลดน้ำหนักแบบค่อยเป็นค่อยไป

การลดน้ำหนักให้ได้มากถึงหนึ่งกิโลกรัมต่อสัปดาห์ ถือว่าปลอดภัยและเป็นไปตามหลัก

การของการลดน้ำหนัก

2. เลือกรับประทานแต่อาหารที่ส่งเสริมสุขภาพ

รับประทานผัก ผลไม้มาก ๆ ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท ธัญพืช และถั่วชนิดต่าง ๆ เลือกอาหารเหล่านี้เป็นอาหารหลักทุกมื้อ จะช่วยลดไขมันและพลังงานที่มากเกินความจำเป็น หากรับประทานอาหารหวานมากเกินไปให้งดน้ำตาลไม่รับเพิ่มเติม

3. การแก้ไขด้วยการใช้ยาและทำศัลยกรรม

การลดน้ำหนักรักษาโรคอ้วนตามสถานบริการมีการใช้ยาหลายชนิด ยาเหล่านั้นจะระงับความหิว การทำศัลยกรรมก็มีใช้ยาเพื่อรักษาโรคอ้วนด้วยเช่นกัน

4. ลดการบริโภคไขมัน

ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักสำหรับผู้ชายควรรับไขมันประมาณวันละ 40-50 กรัม และ

สำหรับผู้หญิงวันละ 30-40 กรัม การค้นหาแหล่งไขมันเป็นสิ่งที่ดี ถ้าทำได้ให้เลือกอาหารที่สามารถใช้แทนอาหารที่มีไขมัน

  • เลือกบริโภคอาหารประเภทนม เช่น นมสด โยเกิร์ต เนยแข็ง ชนิดพร่องไขมัน หรือ บริโภคผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองแทน

  • ลดการรับประทานอาหารที่ทำจากไขมันจากเนย เนยเทียม น้ำมันใช้ประกอบอาหาร ไขมันติดเนื้อสัตว์ รวมทั้งไขมันในผลิตภัณฑ์นมและไขมันที่ซ่อนอยู่ในอาหารแปรรูปเช่น เค้ก และบิสกิตให้น้อยลง

  • จำกัดอาหารจานด่วนพวก อาหารฝรั่ง และอาหารมันที่ประกอบขึ้นเองที่บ้าน

  • เลือกใช้วิธีประกอบอาหารที่ใช้น้ำมันน้อย เช่น ย่าง อบ ต้ม นึ่ง หรือใช้ไมโครเวฟ แทนการทอดเป็นต้น

  • เลือกขนมเป็นประเภทข้าว เค้ก ขนมปังกรอบ และผลไม้แห้ง หรือผลไม้สด

  • จำไว้เสมอว่าการได้รับพลังงานมากเกินไปจากแหล่งใดก็ตาม (เช่น ไขมันหรือน้ำตาล) สามารถทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ ดังนั้น ขอแนะนำว่าให้กินน้ำตาลและอาหารที่มีน้ำตาลแต่น้อย

  • น้ำมันที่จำเป็นสำหรับร่างกายสามารถรับประทานได้ในปริมาณเล็กน้อย เช่น น้ำมันจากถั่ว น้ำมันจากเมล็ดพืช ด้วยการใช้น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์แทน ดังที่กล่าวไว้ ผู้ที่ลดน้ำหนัก ยังต้องการไขมัน แต่ปริมาณน้อยเพียง 30-40 กรัมต่อวันเท่านั้น

ปริมาณไขมันในอาหารจานด่วนบางชนิด

แมคโดนัลด์ , บิ๊กแมคหนึ่งชิ้น

พิซซ่า 1 ถาดใหญ่

เคเอฟซี ไก่หนึ่งชิ้นและมันฝรั่งทอดถุงเล็ก

พายเนื้อ 1 ถาด

27 กรัม

24.5 กรัม

31 กรัม

24 กรัม

5. รับประทานอาหารที่มีกากใยมากขึ้น

กากใยอาหารหรือไฟเบอร์ เป็นเส้นใยที่ช่วยลดความรู้สึกหิวและเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อการมีสุขภาพดี ทั้งระบบกระเพาะอาหารและระบบการย่อยอาหาร เพื่อจะได้รับอาหารที่มีกากใยอาหารเพิ่มขึ้นในมื้อหน้า ลองเคล็ดลับต่อไปนี้

  • รับประทานข้าวกล้อง ขนมปังทำจากแป้งไม่ขัดสีและธัญพืชเป็นอาหารเช้า

  • เพิ่มผักและผลไม้สด โดยเฉพาะผักสด

  • รับประทานข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือแทนข้าวและเส้นบะหมี่ที่ขัดสี

6. รับประทานอาหารเช้า

การรับประทานอาหารเช้าไม่เพียงแต่ทำให้อัตราการเผาผลาญอาหารในร่างกายเพิ่มขึ้นเท่านั้น (อัตราที่ร่างกายนำเอาพลังงานไปใช้) แต่ยังช่วยทำให้ให้มีสมาธิดีและมีพลังงานในการกิจกรรมในตอนเช้าอีกด้วย

7. เพิ่มการออกกำลังกาย

การออกกำลังกายช่วยเผาผลาญพลังงานที่ได้จากอาหาร และเพิ่มอัตราพลังงานที่นำไปใช้ในแต่ละวันให้มากขึ้นโดยการเผาผลาญไขมันของร่างกาย นอกจากนี้การออกกำลังกายยังสามารถลดอาการเบื่อหน่าย ความเครียด และอาการสับสนได้อีกด้วย สาเหตุเหล่านี้เป็นเหตุให้รับประทานอาหารมากเกินไป เราควรออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีทุกวัน ซึ่งเป็นเวลาที่จะทำให้เกิดการเผาผลาญได้ แต่หากไม่สามารถออกกำลังกายหนักเพียงครั้งเดียวได้ ให้ออกกำลังกายครั้งละ 10-15 นาที วันละ 3-4 ครั้ง จำไว้เสมอว่า ออกกำลังกายเพียงเล็กน้อยก็ยังดีกว่าไม่ออกกำลังเลย

ดังนั้น จงเลือกรูปแบบการออกกำลังกายที่ท่านชื่นชอบและสนุกสนาน วิธีนี้จะทำ

ให้การออกกำลังกายง่ายขึ้น สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของท่าน พยายามออกกำลังกายในวันหยุดสุดสัปดาห์ให้มาก ทำกิจกรรมใหญ่ เช่น ว่ายน้ำ เล่นกอล์ฟ ปั่นจักรยาน หรือเดินก็ได้ การไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายก่อนจะเริ่มออกกำลังกายอย่างจริงจัง เป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก ดังนั้น เริ่มจากวิธีที่ง่ายก่อน เช่น เดินเร็ว (ดูในหนังสือบทที่ 4 เพื่อข้อมูลที่มากขึ้น)

8. ดื่มน้ำให้เพียงพอ

น้ำไม่มีกิโลจูล ไม่มีสารคาเฟอีน ดังนั้นจะดื่มเท่าใดก็ได้ ไม่เหมือนในเครื่องดื่มชนิดอื่นที่มีกิโลจูลมากเช่นพวก กาแฟ น้ำอัดลม ชา น้ำผลไม้ และสุรานั้นต่างกัน ในแต่ละวันควรดื่มน้ำให้เพียงพอ

9. ลดการดื่มสุรา

สุราส่วนใหญ่มีกิโลจูลสูง มีพลังงานสูงมาก และยังมีน้ำดื่มประเภทอื่น ๆ อีกที่เช่น

น้ำอัดลม อีกด้านหนึ่ง แอลกอฮอล์ลดประสิทธิภาพในการเผาผลาญไขมัน ทำให้น้ำหนักเพิ่มง่ายขึ้นอีกด้วย

10. รับประทานอาหารอย่างปลอดภัย

หากต้องรับประทานอาหารจานด่วนนอกบ้าน ควรเลือกอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ หากต้องการรับประทานอาหารจานด่วนแบบฝรั่ง เช่น พิซซ่า แฮมเบอร์เกอร์ ควรเลือกแบบมังสวิรัติ ใส่เนยแข็งแต่น้อย รับประทานผักสด ผักต้ม นึ่ง แทนการผัด ข้าวสวย หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารทอดที่ดูดซับน้ำมันมากๆ เช่น ปอเปี๊ยะ หรือข้าวผัด

11. มีความสุขกับการรับประทานอาหาร

สุขภาพที่ดีไม่ใช่การหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บเท่านั้น แต่เป็นคุณภาพชีวิตที่ดี การมีสุขภาพดี การรับประทานอาหารที่ดีไม่ได้หมายความว่ารสชาติจืดชืด ท่านยังสามารถรับประทานอาหารที่อร่อยเช่นเดิมอย่างที่เคยชิน เพียงแต่เลือกรับประทานผักผลไม้ให้มากขึ้น ลดอาหารที่มีไขมันและลดน้ำตาลลง ท่านก็จะมีสุขภาพดี แข็งแรงและสามารถควบคุมน้ำหนักได้

ศึกษาเพิ่มเติม….บทที่ 9 ซึ่งจะกล่าวถึงหัวข้อที่กำลังสนใจกันอยู่ในขณะนี้คือ โรคมะเร็งและวิธีการป้องกันโรคมะเร็ง