บทเรียน > ขุมทรัพย์สุขภาพ >
5. รับมือกับความเครียด
แบบทดสอบความเครียด
ใช่ ไม่ใช่
หากคำตอบของท่านคือ “ใช่” ไม่กี่ข้อ แสดงว่าท่านมีความเครียดในชีวิตแล้ว |
ลดความเครียดลงเดี๋ยวนี้
ท่านเคยมีสักวันหนึ่งไม่สบอารมณ์ ดูเหมือนไม่มีอะไรได้ดังใจบ้างไหม เมื่อหากุญแจรถไม่พบ หรือลูกๆ ไม่สบาย ทำงานไม่ทันกำหนดการ นั่งกระสับกระส่ายในรถยามจราจรติดขัดเป็นกังวลกับค่าใช้จ่ายภายในบ้านและเงินในธนาคาร ความอดทนและอดกลั้นของท่านตึงจนถึงจุดที่จะขาดผึง ไม่น่าเกิดอะไรแบบนี้เลย
ท่านเคยผ่านวิกฤตในชีวิตบ้างไหม เคยมีประสบการณ์การสูญเสียบ้างไหม ด้วยหวังว่าจะสามารถทำอะไรให้ดีขึ้นกว่านี้ ขอให้ผ่านพ้นช่วงนี้ไปได้ ใช่ ท่านสามารถทำได้ ไม่ต้องสงสัยว่าเรามีชีวิตอยู่ยุคแห่งความกังวล ความไม่แน่นอนและความสับสน ในโลกเบี้ยวใบนี้ทุกสิ่งเปลี่ยนไปเสมอ ชีวิตไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด เราต้องอยู่ภายใต้ข้อมูลข่าวสาร จมอยู่ภายใต้สิ่งต่าง ๆ ที่ดูเจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว เรากำลังต่อสู้กับการแข่งขันเพื่อความอยู่รอด แต่เราไม่จำเป็นต้องวิ่งตามสิ่งเหล่านี้ แต่ละวัน เราต้องประสบกับความเปลี่ยนแปลง เหตุการณ์ต่างๆ ผู้คน และสิ่งแวดล้อม นั่นคือความเครียด มีความเครียดที่ดี (“eustress”) ความเครียดที่ไม่ดี (“distress”) ความเครียดที่ไม่ดีจะส่งผลต่อเรามากมาย ทั้งด้านร่างกาย ความคิด ความอ่านและการตัดสินใจ ส่งผลให้วิตกกังวล เป็นทุกข์ เราไม่สามารถกำจัดความเครียดให้หมดไปได้ มีเพียงทำให้ความเครียดลดลงเท่านั้น บทเรียนนี้จะช่วยให้ท่านค้นพบ วิธีจัดการกับความเครียดที่เรียกว่า เอ.บี.ซี. (ABC) ช่วยท่านได้อย่างไร
|
สัญญาณบ่งบอกความเครียด
ความเครียดมีผลอะไรต่อชีวิตของเรา
แนวทางแก้ไขความเครียด 12 วิธี
การป้องการความเครียดทำได้ง่ายกว่าการขจัดความเครียดให้หมดไป มีกลยุทธลดความเครียดด้วยการป้องกันไม่ให้เกิดความเครียดหลายวิธี เลือกวิธีที่ดีที่สุดเพื่อตัวท่านเอง
1. ฉลาดเลือกอาหารการกิน · เลือกอาหารตามหลักโภชนาการ ครบถ้วนและพอเหมาะพอดี · รับประทานผักและผลไม้สดมาก ๆ · หลีกเลี่ยงรับประทานอาหารที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ 2. ออกกำลังกายเป็นประจำ · เลือกรูปแบบการออกกำลังกายที่ท่านชอบ · ออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 5 - 7 ครั้ง · การเดินเร็วเป็นประโยชน์ ทุกวันควรเดินประมาณ 45 นาที 3. นอนหลับอย่างเป็นสุข · การนอนหลับเป็นการหยุดพักสมองและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย · ทุกคืนควรนอนหลับอย่างน้อย 7 - 8 ชั่วโมง · เมื่อตื่นนอนขึ้นมารู้สึกสดชื่น แสดงว่านอนหลับเพียงพอ 4. ควบคุมชีวิตตนเอง · พยายามควบคุมสิ่งต่าง ๆ ที่อาจก่อปัญหาแก่ท่านให้ได้มากที่สุด · ดำเนินชีวิตไปตามเป้าหมายที่ได้วางแผนไว้ 5. คาดการณ์สิ่งที่อาจเปลี่ยนแปลงล่วงหน้า · เตรียมใจรับปัญหาฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต · เปิดใจกว้าง มองหาวิธีทำในสิ่งที่เป็นไปได้ · อย่ายึดติดอยู่กับสภาพเดิมที่น่าเบื่อ 6. หัวเราะให้เต็มที่ · อารมณ์ขันเป็นการปลดปล่อยความเครียดได้อย่างดี · พยายามมองหาชีวิตในแง่ตลกสนุกสนาน · หัวเราะทุกวัน หัวเราะให้กับตัวเองด้วย 7. พูดจาให้เข้าใจ · เรียนรู้วิธีสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ · แบ่งปันความสุขและปัญหากับเพื่อนรอบข้าง · อย่าปล่อยให้ความเบื่อหน่ายผุดขึ้นมาและหวาดกลัว 8. รู้จักวิธีผ่อนคลาย · ค้นหาวิธีผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ · พยายามหายใจลึก ยืดเส้นยืดสาย · มีความสุขกับความเงียบของธรรมชาติ · อาบน้ำอุ่น นวดตัว · เล่นดนตรีเพลงโปรดที่ตัวเองชอบ · นั่งสมาธิ อธิษฐาน 9. มีเวลาทำกิจกรรม · การหย่อนใจทำให้ชีวิตมีสีสัน · หางานอดิเรกหรือกิจกรรมอื่นที่สนใจ · ท่องเที่ยวธรรมชาติ จะได้รู้เห็นสิ่งต่าง ๆ กว้างขึ้น · เล่นกีฬาทางน้ำ เล่นกีฬาเป็นทีม · หลีกเลี่ยงกีฬาแข่งขันเอาชนะ 10. ร่าเริงแจ่มใส · ความสุขขึ้นอยู่กับการเลือก เป็นทัศนะทางความคิด · พูดให้กำลังใจตัวเอง · ยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอทั้งภายในและภายนอก 11. พัฒนาความสัมพันธ์ · สร้างความผูกพันภายในครอบครัวให้แน่นแฟ้น · รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนเก่า สร้างเพื่อนใหม่ · ช่วยเหลือผู้อื่นในยามยาก 12. อย่ากลัวเมื่อต้องร้องไห้ · ทุกคนล้วนมีเวลาเศร้าและสูญเสีย · น้ำตาช่วยปลดปล่อยอารมณ์
|
รับมือกับสิ่งเลวร้าย
ทักษะการใช้ชีวิตอย่างมีสติ
เข้าใจการเจ็บป่วยของจิตใจ
ในบางช่วงของชีวิต หนึ่งในห้าคนจะประสบกับความเจ็บป่วยทางจิตใจ · เกิดได้ทั้งระดับอ่อน ปานกลาง จนถึงขั้นรุนแรง · เกิดจากความผิดปกติของสมอง · ความเจ็บป่วยทางจิตใจส่วนใหญ่สามารถรักษาให้หายได้ · หลายคนเกิดอาการช่วงสั้นๆ สามารถรักษาเป็นปกติได้ · ผู้เจ็บป่วยทางจิตต้องการความช่วยเหลือและการยอมรับ
เมื่อเกิดปัญหารุนแรงขึ้นควรพบผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
ความเจ็บป่วยทางจิต - ไม่อยู่ในโลกของความเป็นจริง · จิตเภท – มีผลต่อการทำงานของจิต และลักษณะพฤติกรรมของคน · วิปลาส (ความกดดันจนคลุ้มคลั่ง) - อารมณ์เปลี่ยนแปรปรวนง่าย
อาการที่ไม่ใช่ความเจ็บป่วยทางจิต · วิตกกังวล หวาดกลัว · ห่อเหี่ยว – ตึงเครียด เศร้า เสียใจและหมดหวังเป็นเวลานาน · ย้ำคิดย้ำทำ เช่น ล้างมือบ่อยมาก · เกิดความปกติในการรับประทานอาหาร เช่น หิวบ่อยผิดปกติ เบื่ออาหาร
|
เอาชนะความเครียด
ความเครียดบางอย่างมีความจำเป็นและเป็นสิ่งดี การมีความเครียดในระดับปานกลางและมีความท้าทาย จุดมุ่งหมายนั้น ทำให้เราประสบความสำเร็จ · กระตุ้นให้มีความคิดสร้างสรรค์ · กระตือรือร้น · ทำให้สามารถเอาชนะ ได้มาซึ่งความสำเร็จ มีความสุข
ปฏิบัติตามวิธีควบคุมความเครียด แบบ เอบีซี ABC A - Awareness การรับรู้ รับรู้ปัญหา สามารถแยกแยะประเภทของปัญหาและความเครียดได้ B - Balance ความสมดุล นำพาชีวิตไปสู่ความสมดุล ค้นพบวิธีลดปัญหาความเครียดเหล่านั้น C - Control การควบคุม เลือกวิธีควบคุมชีวิตให้อยู่ในหนทางที่ท่านต้องการด้วยตนเอง
“พระเจ้าประทานความสงบมาเพื่อฉันจะยอมรับในสิ่งที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ประทานความกล้าเพื่อเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ฉันสามารถเปลี่ยนได้ ประทานปัญญาเพื่อให้ฉันได้รู้ถึงความแตกต่าง”
เมื่อชีวิตเข้าสู่ความสมดุล สุขสงบ ความเครียดจะอยู่ภายใต้การควบคุมของเรา
ศึกษาเพิ่มเติม…..บทที่ 6 หัวข้อน่าติดตามเรื่องยาเสพย์ติด
ทบทวน เมื่อศึกษาบทเรียนจบแล้ว ทบทวนความรู้ด้วยการตอบคำถามท้ายบท |
1-9 of 9